หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    คำวัด - วัด กับ วัตร

    เวฬุวนาราม เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา แต่ก่อนเวฬุวันคือพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน เป็นพุทธบูชาให้แก่พระพุทธเจ้า

       คำว่า "เวฬุวนาราม" เป็นภาษามคธ หรือบาลี ๓ คำเชื่อมกันคือ "เวฬุ" ไม้ไผ่ วน ป่าหรือสวนและ อาราม วัด เมื่อถือเอาความตามภาษาไทย และถูกต้องกับความเป็นจริงแล้วแปลว่า "วัดไผ่ล้อม" ที่เรียกชื่อว่า วัดไผ่ล้อม ก็เพราะว่า เวฬุวนาราม มีต้นไม้ไผ่เขียวชอุ่มน่าดูและน่าชมยิ่งขึ้นล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเชิงภูเขาเวภารบรรพต

     เวฬุวนารามเคยเป็นพระราชอุทยาน หรือสวนหลวง เป็นสถานที่สำหรับเสด็จประพาสของพระเจ้าพิมพิสารมหาราช และข้าราชบริพารมาก่อน พระราชอุทยานแห่งนี้ นับว่าเป็นพระราชอุทยานที่จัดว่าอยู่ใกล้พระราชวังแห่งหนึ่งที่มีอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามประวัติยังกล่าวไว้ว่าพระราชอุทยานเวฬุวันนั้นยังมีกำแพงสูงถึง ๑๘ ฟิต กั้นล้อมอีกชั้นหนึ่ง และมีประตูใหญ่ (สำหรับปิดและเปิดในเวลาเข้าและออก) ประกอบด้วยหอคอย สำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลและรักษาความปลอดภัย

     พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "วัด" ไว้ว่า เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่ทางพุทธศาสนามาแต่โบราณ เป็นคำเรียกรวมที่ดินและอาคาร เช่น อุโบสถ วิหาร ศาลา กุฏิ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินนั้นด้วย

     วัดที่ถูกต้องสมบูรณ์ คือ วัดที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นนิติบุคคล ส่วนสถานที่ที่พระสงฆ์อาศัยอยู่ แต่กฎหมายยังมิได้รองวับให้เป็นวัด เรียกว่า ที่พักสงฆ์ ซึ่งยังไม่จัดเป็นสัดตามความหมายนี้ ขณะเดียวกันวัดยังแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

     ๑.วัดราษฎร์ ได้แก่วัดที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา ได้แก่วัดทั่วไป
     ๒.วัดหลวง วัดที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงสร้างไว้ หรือวัดที่ได้รับการยกย่องสถาปนาให้เป็นพิเศษจากวัดราษฎร์ทั่วไป เรียกเต็มๆ ว่า "พระอารามหลวง" ถาวรวัตถุในพระอารามหลวงที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า จะเติมคำว่า "พระ" นำหน้าด้วย เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียง พระมณฑป

     ส่วนคำว่า "วัตร" หมายถึง กิจที่พึงกระทำ หน้าที่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี แบบอย่าง การประพฤติ การปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ได้ ๓ อย่าง คือ

     ๑.กิจวัตร คือหน้าที่ที่ควรทำ เช่น หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์ ต่ออาจารย์
     ๒.วิธีวัตร คือแบบแผนที่พึงปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น วิธีครองผ้า วิธีใช้และเก็บบาตร วิธีพับเก็บจีวรเป็นต้น

     วัตร เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่พระสงฆ์ปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน และสม่ำเสมอกัน แสดงถึงฐานะและความเป็นเอกภาพ อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น

    "พระธรรมกิตติวงศ์ "


    • Update : 12/7/2554
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved