หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CB004 29.00  1
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประตูชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

      ประตูชุมพลเป็นส่วนหนึ่งของประตูเมืองนครราชสีมา หมายรวมทั้งกำแพงเมืองและคูเมืองด้วย เป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งถึงเวลาปัจจุบันมีเพียงประตูชุมพลที่ยังคงรูปลักษณ์เดิมอยู่ได้ ย้อนอดีตครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของแขมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย ขณะนั้นมีเมืองเสมา เมืองโคราช และเมืองพิมาย เป็นชุมชนใหญ่ ควรจะตั้งเป็นหน้าด่านได้ จึงโปรดให้ สร้างเมืองที่มีป้อมปราการแบบฝรั่ง ในฐานะเมืองสำคัญชายพระราชอาณาเขต โดยเกณฑ์ช่างจากกรุงศรีอยุธยา เกณฑ์แรงงานจากเมืองโคราชกับเมืองเสมา ช่วยกันสร้างเมืองใหม่ ห่างจากเมืองโคราชเก่าในท้องที่อำเภอสูงเนิน ไปทางทิศตะวันออก 800 เส้น (32 กิโลเมตร) ซึ่งก็คือพื้นที่ตัวเมืองเก่า บริเวณเขตกำแพงเมืองและคูเมืองในปัจจุบัน  นายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้วางผังเมืองเป็นสี่เหลี่ยมรูปกลองชัยเภรี กว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,700 เมตร มีพื้นที่ภายในประมาณ 1,000 ไร่ ขุดคูกว้าง 20 เมตร ลึก 6 เมตร ยาวล้อมรอบเมือง มีโครงข่ายถนนภายในตัดกันมีรูปแบบเป็นตารางหมากรุก ก่อสร้างกำแพงเมืองโดยก่ออิฐขึ้นจากหินศิลาแลง สูง 6 เมตร ยาวโดยรอบ 5,220 เมตร บนกำแพงมีใบเสมาโดยรอบจำนวน 4,302 ใบ มีป้อมประจำกำแพง และป้อมตามมุมกำแพงรวม 15 ป้อม

      มีประตูเมืองกว้าง 3 เมตร (1 วา 2 ศอก) จำนวน 4 ประตู เป็นทางเข้า-ออกเมืองทั้งสี่ทิศ บริเวณซุ้มประตูเมืองมีหอยามรักษาการณ์ เชิงเทิน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันหมดทุกแห่ง ประตูเมืองทั้ง 4 มีชื่อว่า ประตูชุมพล ประตูพลแสน ประตูพลล้าน ประตูไชยณรงค์
    สำหรับประตูชุมพลเป็นประตูเมืองทางทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า ชื่อประตู ชุมพล หมายความถึงที่ชุมนุมพลส่วนใหญ่ เป็นประตูสำหรับเตรียมไพร่พลและออกศึก เนื่องจากมีภูมิประเทศเปิดกว้าง ไม่มีป้อมปราการตามธรรมชาติเหมือนประตูอื่นๆ ทั้งนี้ มีความเชื่อว่า เมื่อลอดผ่านประตูชุมพลไปทำศึกจะแคล้วคลาดได้กลับบ้านเมือง ส่วนประตูอื่นๆ มีเกร็ดดังนี้ ประตูพลแสน ประตูเมืองทางทิศเหนือ หรือเรียก ประตูน้ำ เพราะหันหน้าสู่ลำตะคองซึ่งเป็นคลองกั้นคูเมืองอีกชั้นหนึ่ง เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล ในอดีตใช้ลำตะคองในการชลประทานและเป็นเส้นทางคมนาคม สำหรับชื่อประตู พลแสน หมายถึง ต้องมีกำลังพลถึงแสนหนึ่งจึงจะสามารถบุกเข้ามายังประตูนี้ได้ ประตูไชยณรงค์ ประตูเมืองทางทิศใต้ หรือเรียก ประตูผี จากความเชื่อว่า เมื่อมีคนตายในเมือง ห้ามเผาหรือฝังในเมือง ให้นำออกไปจัดการกันที่นอกเมืองโดยผ่านออกทางประตูนี้ สำหรับชื่อประตู ไชยณรงค์ มาจากเมื่อยามเกิดศึกสงคราม ประตูนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ยากต่อการโจมตีของข้าศึก เพราะภูมิประเทศในอดีตเต็มไปด้วยหนองน้ำ ประตูพลล้าน ประตูเมืองทางทิศตะวันออก หรือประตูทุ่งสว่าง แต่เดิมทิศนี้มีบึงใหญ่เรียกว่า บึงทะเลหญ้าขวาง พื้นที่กว้างไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร ส่วนกลางเป็นบึงใหญ่และมีพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดทุ่งสว่าง สำหรับชื่อประตู พลล้าน นัยว่าเพื่อข่มขวัญข้าศึกที่ถึงจะยกทัพมาสักล้านก็ยังต่อสู้ได้


    ปัจจุบัน ประตูพลแสน ประตูพลล้าน และประตูไชยณรงค์ ได้รับการบูรณะและก่อสร้างใหม่ โดยยึดเค้าโครงเดิมของประตูเมืองและกำแพงเมือง


    • Update : 19/6/2554
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved