หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พิธีเททองหล่อพระ-ราหูย้าย มหาชนแน่นวัดไตรมิตรฯ


    เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2554 เป็นวันที่ราหูย้ายจากราศีธนูมาสถิตราศีพิจิก วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ นำโดย "พระพรหมเวที" เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม พระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ได้จัดพิธีรับ-ส่งพระราหู และ พิธีเททองหล่อ พระพุทธรูป 2 องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ โปรดอสุรินทราหู

    พระเทพภาวนาวิกรม กล่าวว่า ตามตำราโหราศาสตร์ท่านกล่าวไว้ว่า ช่วงที่ราหูย้ายจากราศีหนึ่งสู่ราศีหนึ่ง จะมีผลดลบันดาลให้ท่านที่ไม่บูชา ไม่พกพารูปลักษณ์ของราหู จะเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ การเดินทาง พบอุบัติเหตุ การประกอบธุรกิจทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริม ทรัพย์ จะประสบอุปสรรคต่างๆ นานา และท่านที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงานในราชการ หรือเอกชนก็จะมีปัญหากับผู้บังคับบัญชา หรือผู้หลักผู้ใหญ่ และจะเกิดเหตุวุ่นวายกับคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานพร้อมทั้งคนใกล้ชิด

    "ตำราโบราณจึงได้บอกไว้ว่าให้บูชารูปลักษณ์ของราหู ที่สร้างขึ้นจากเนื้อโลหะและเนื้อผงผสมว่าน ซึ่งเนื้อโลหะได้ผ่านความร้อนของไฟ มีความเชื่อกันว่าจะคงทนแข็งแกร่งและฝ่าฟันอุปสรรคใดใดทั้งปวง ส่วนเนื้อผงผสมว่านก็จะมีความเมตตา แคล้วคลาด เจริญรุ่งเรืองด้วย"



    สำหรับ "พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์" พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสอง ทอดพระบาทน้อยๆ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุเป็นพระกิริยาทรงรับ นิยมเรียกว่า "พระป่าเลไลยก์" พระพุทธรูปปางนี้ นิยมสร้างเป็นพระบูชาสำหรับคนเกิดวันพุธกลางคืน นับเข้าในเวลาพระราหูตามพิธีทักษา แม้คนที่มีอายุเข้าในเกณฑ์ดวงชะตาพระราหูเสวยอายุก็นิยมบูชา ถือว่าเป็นพระประจำเทวดานพเคราะห์ โดยเหตุที่พระพุทธรูปปางนี้ได้พระนามว่าพระปางป่าเลไลยก์ ก็เพราะช้างป่าเลไลยก์เชือกนี้ พระปางนี้ส่วนมากนิยมสร้างช้างหมอบถวายกระบอกน้ำอยู่แทบเท้าและลิงนั่งถวายรวงผึ้ง เป็นนิมิตร่วมอยู่ด้วยกัน

    ส่วน "พระพุทธรูปปางไสยาสน์โปรดอสุรินทราหู" เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รอง รับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "พระปางไสยาสน์"

    ในวันดังกล่าวได้มีคลื่นมหา ชนจากทั่วสารทิศเดินทางมาร่วมพิธีจนแน่นวัด เริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์สวดธัมจักรกัปปวัตนสูตร 14.00 น. พระเกจิอาจารย์สวดพระคาถามหาราชทั้ง 4 เวลา 17.15 น. เป็นพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่ และปางไสยาสน์ โปรดอสุรินทราหู พระเกจิอาจารย์อธิษฐานจิตนั่งปรกคุมธาตุทั้ง 4 ทิศ ประกอบด้วย หลวงปู่วาส วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี พระอาจารย์รักษ์ วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรอยุธยา หลวงพ่อเจิม วัดปรกรวยไม่เลิก จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อแย้ม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม

    โดยมี "พระพรหมเวที" เจ้าอาวาสวัดไตร มิตรวิทยาราม เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยข้าราชการทหาร-ตำรวจ และบรรดานักการเมือง ดารานักแสดงร่วมเจริญจิตตภาวนา บางท่านได้ถอดแหวนทองสร้อย ทองคำบริจาคใส่ในเบ้าหลอม เพื่อเททองหล่อองค์พระด้วย ซึ่งก่อนหน้านั้นบรรดาศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปได้เขียนชื่อ เขียนนามสกุล วันเดือนปีเกิดลงในแผ่นทอง เพื่อร่วมในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป 2 องค์ ไว้แล้วจำนวนมาก

    จากนั้นเวลา 18.15 น. พระคณาจารย์ชื่อดังร่วมสวดมนต์คาถาบูชาเทวดานพเคราะห์ เทวดาประจำวันเกิดของแต่ละท่าน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ร่วมพิธีทุกคน พิธีสวดบูชาเทวดานพเคราะห์เริ่มดำเนินการได้สักระยะหนึ่งก็เกิดฝนตกโปรยปรายลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้คนในพิธีไม่มีท่านใดกลับก่อนเลย ยอมตากฝนฟังการสวดจนจบ ผู้เข้าร่วมในพิธีหลายคนบอกว่า "พิธีเข้มขลังอย่างนี้ ถือเป็นมงคล ถ้าไม่อยู่ให้จบจะเสียเวลาเปล่า"

    พิธีกรรมจบลงในช่วงพลบค่ำของคืนนั้น ขอพร "หลวงพ่อทองคำ" แล้วก็แยกย้ายกันกลับอย่างชื่นมื่น

    • Update : 30/5/2554
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved