หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วันคนพิการ สากล ตรงกับวันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี

    วันคนพิการ สากล ตรงกับวันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี

    องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันคนพิการสากล" เพื่อเป็นการระลึกถึงวันครบรอบที่สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติมีมติรับแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ และได้ให้ประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจของสังคมต่อคนพิการ และยอมรับให้เข้าร่วมกิจกรรมในด้านต่างๆ และประเทศไทยในฐานะองค์การสมาชิก โดยคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้มีการขานรับวันคนพิการสากลและกีฬาเฟสปิกเกมส์ โดยจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ ทั่วประเทศ วันคนพิการสากล มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสความเข้าใจต่อคนพิการและระดมการสนับสนุนแก่คนพิการเพื่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ของคนพิการ นอกจากนี้ก็ยังช่วยสร้างความตื่นตัวของประชาชนต่อคนพิการในทุกๆ ด้าน  ทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 

    ความเป็นมาของวันคนพิการสากล
             นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ปี พุทธศักราช 2526-2535 เป็นทศวรรษคนพิการแห่งสหประชาชาติ หรือ UNITED NATION DECADE OF DISABLED PERSONS,1983-1992. ยังผลให้ประเทศต่างๆ รวมไปถึงองค์การต่างๆในทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้ตื่นตัวในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถถาพคนพิการอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศองค์การสมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม การเสนอแนะประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ให้ใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุง การป้องกันความพิการ การสนองความต้องการของคนพิการ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ในทุกรูปแบบต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนรณรงค์เรื่องสิทธิ และความเท่าเทียมกันในสังคนเพื่อคนพิการ รวมไปถึงมรการจัดกิจกรรมคนพิการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ทักษะการช่วยตัวเอง การเพิ่มพุนสมรรถภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของคนพิการ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน ระหว่างคนพิการและคนปกติ
              ในปีพุทธศักราช2535 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค หรือ ESCAP ได้จัดให้มีสมัยการประชุมครั้งที่ 48 ขึ้น  ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมได้มีมติประกาศให้ปีพุทธศักราช 2536-2545 เป็นทศวรรษคนพิการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค หรือรู้จักกันในนามสากลทั่วโลกว่า "Asian and Pacific Decade of Disabled Persons, 1993-2002" โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั่วทุกประเทศในแถบเอเชียและแปซิฟิค ทั้งในด้านการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพและจัดหาสถานประกอบการรองรับแรงงานคนพิการ สนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนผลักดันให้คนพิการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ ซึ่งก็จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไปในสังคม

    วันคนพิการในประเทศไทย องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา เพื่อระลึกถึงวันครบรอบที่สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ มีมติรับแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ ซึ่งประกอบด้วยนโยบาย มาตรการการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่จะเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ การให้โอกาสคนพิการได้เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมด้วยความเสมอภาค รวมทั้งส่งเสริมสิทธิ และ ศักยภาพของคนพิการ องค์การสหประชาชาติได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิก ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนพิการ
             ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับคนพิการและได้ดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสิทธิ โอกาส และความเสมอภาคตามแนวทางของ องค์การสหประชาชาติมาโดยตลอด และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมวันคนพิการสากลเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา โดยคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้มีการขานรับวันคนพิการสากลและกีฬาเฟสปิกเกมส์ โดยจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ ทั่วประเทศ
              วันคนพิการสากล มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสความเข้าใจต่อคนพิการ และระดมการสนับสนุนแก่คนพิการเพื่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ของคนพิการ นอกจากนี้ก็ยังช่วยสร้างความตื่นตัวของประชาชนต่อคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

    ความหมายของคนพิการ                                   
              คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ไว้ดังนี้)
    ประเภทของความความพิการ
       1. พิการทางการมองเห็น
       2. พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
       3. พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
       4. พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
       5. พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
       6.พิการซ้ำซ้อน
    ประเภทของความความพิการ  คนพิการแต่ละประเภทมีรายละเอียดความพิการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะ ดังนี้
    พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา
    พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร
    พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
    พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
    พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้
    พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป

    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    www.lib.ru.ac.th
    www.panyathai.or.th


    • Update : 3/12/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved