หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    องค์การความร่วมมืออิสลาม

    องค์การความร่วมมืออิสลาม

    องค์การความร่วมมืออิสลาม - Organisation of Islamic Cooperation (OIC-โอไอซี) ก่อตั้งขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1971 ตามมติที่ประชุมสุดยอดครั้งแรกของประเทศมุสลิม 35 ประเทศ ที่กรุงราบัต โมร็อกโก เมื่อวันที่ 22-25 กันยายน 1969

    มีชื่อเดิมว่า องค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of the Islamic Conference) ก่อนเปลี่ยนเป็นชื่อ Organisation of Islamic Cooperation ในปัจจุบัน ตามมติในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 38 ที่กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2011

    การก่อตั้งโอไอซี เพื่อเป็นองค์การความร่วมมือที่เป็นปึกแผ่นของประชาชาติมุสลิม (Islamic Ummah) ที่ประชาชนสามารถยืนหยัดได้อย่างมีศักดิ์ศรี ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน

    ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความเปราะบางทางการเมืองและการระหว่างประเทศในประชาชาติมุสลิม อาทิ สงคราม ข้อพิพาทเรื่องดินแดน และเหตุวินาศกรรมมัสยิดอัล-อักซอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญลำดับ 3 ของโลกมุสลิม

    โอไอซีเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมุสลิม ประกอบด้วยสมาชิก 57 รัฐ ได้แก่ อียิปต์ บาห์เรน กาตาร์ อิหร่าน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์

    ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย บังกลาเทศ มัลดีฟส์ ปากีสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซ ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน อาเซอร์ไบจาน แอลเบเนีย แอลจีเรีย

    ตุรกี เบนิน บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน ชาด โคโมรอส จิบูตี กาบอง แกมเบีย กินี กินีบิสเซา กียานา มาลี มอริเตเนีย โมซัมบิก ไนเจอร์ ไนจีเรีย เซียร์ราลีโอน เซเนกัล โซมาเลีย ซูดาน สุรินัม โกตดิวัวร์ โตโก และ ยูกันดา

    นอกจากนี้มีผู้สังเกตการณ์ประกอบด้วยรัฐ องค์การระหว่างประเทศและองค์กรอิสลาม

    โอไอซีมีองค์กรหลักคือที่ประชุมสุดยอดอิสลาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด ประกอบด้วยประมุขแห่งรัฐและผู้นำประเทศของรัฐสมาชิก เพื่อพิจารณาตัดสินใจนโยบายและกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโอไอซี และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชาชาติมุสลิม

    จัดการประชุมทุก 3 ปี ปัจจุบัน อียิปต์เป็นประธานในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 12 ระหว่างปี 2013-2015

    ทั้งนี้ ย้อนไปในการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษ ครั้งที่ 3 เมื่อ 7-8 ธันวาคม 2005 ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประมุขและผู้นำรัฐบาลรัฐสมาชิกได้เห็นชอบให้จัดทำโปรแกรม 10 ปี เพื่อนำความเป็นเอกภาพของประชาชาติมุสลิมให้ยืนหยัดอยู่เหนือความแปรปรวนทางการเมืองระหว่างประเทศ และยืนหยัดต่อความท้าทายใหม่ๆ ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ อาทิ การเมือง ความมั่นคงและสันติภาพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน ภัยธรรมชาติ ฯลฯ

    รวมไปถึงประเด็นอ่อนไหว อาทิ ประเด็นปาเลสไตน์ การรับมือกับแนวคิดสุดโต่ง ความเกลียดกลัวอิสลาม การใช้ความรุนแรงและการก่อการร้ายที่ผูกโยงกับศาสนาอิสลาม เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้รัฐสมาชิกนำไปปรับใช้ปฏิบัติได้จริง

    สำหรับประเทศไทย เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของโอไอซี เมื่อ 1 ตุลาคม 1998 ตามมติของที่ประชุมที่นครนิวยอร์ก เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ได้รับสถานะดังกล่าว (อีก 3 ประเทศคือ แอฟริกากลาง บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา รัสเซีย)

    ไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เวทีโอไอซีเพื่อเผยแพร่ประชา สัมพันธ์ สร้างความเข้าใจต่อโลกมุสลิมเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิม แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ปรึกษาหารือในประเด็นเกี่ยวกับชุมชนมุสลิม และเพิ่มช่องทางการขยายความร่วมมือกับประเทศอิสลาม


    • Update : 25/7/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved