หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ปั่นเมือง ชวนคนกรุงสร้างวัฒนธรรม “แบ่งปันถนน”

    ปั่นเมือง ชวนคนกรุงสร้างวัฒนธรรม “แบ่งปันถนน”

    “จากการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงในย่านธุรกิจ 4,500 คน พบว่า กว่า 86% อยากใช้จักรยานเป็นยานพาหนะถ้ามีความปลอดภัยเพียงพอ และเกิน 90% ยินดีจะแบ่งปันพื้นที่ถนนไปทำทางจักรยาน” คือคำบอกเล่าของสมาชิกมูลนิธิโลกสีเขียว

    "จักรยาน" เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทาง ที่ ณ เวลานี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานและวัยรุ่น ด้วยเหตุผลเดียวที่ว่า จักรยานคือพาหนะหนึ่งที่สามารถทำให้เราไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ตรงกันข้ามกับการนั่งติดอยู่ในรถส่วนตัว รถประจำทาง ที่จอดแช่แน่นิ่งอยู่บนท้องถนนในชั่วโมงเร่งด่วน และไม่อาจแก้ไขอะไรได้นอกจากการหาสิ่งต่างๆ มาบันเทิงตัวเองเพื่อบรรเทาความเครียดในขณะนั้น

    แต่ที่ทุกวันนี้เรายังเห็น “นักปั่น” มีอยู่จำนวนน้อย ก็เพราะว่าถนนเต็มไปด้วยรถยนต์ และทางเท้าเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง เส้นทางที่เอื้อต่อการปั่นอย่างจริงจังนั้นจึงยังไม่มีจริง

    ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิโลกสีเขียว จึงริเริ่มโครงการจักรยานกลางเมือง Bangkok Bicycle Campaign โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเปิดเวทีเสวนา “Share the Road : จากหนังสั้นสู่ความจริง” ภายในงานประกาศผลรางวัลการประกวด “หนังสั้นปั่นเมือง” เพื่อรณรงค์การแบ่งปันถนนร่วมกันระหว่างผู้ใช้พาหนะต่างๆ บนท้องถนน รวมทั้งจักรยาน รถเข็น และคนเดิน

    โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการอำนวยการนิตยสาร GM, นักเขียน และนักปั่นตัวยง หนึ่งในวิทยากรร่วมเสวนาครั้งนี้ แสดงความคิดเห็นว่าในหลายประเทศ “ถนน” จะทำหน้าที่แสดงสุนทรีย์ของเมืองนั้น หมายถึง ถนนจะเป็นส่วนหนึ่งของสะท้อนความสวยงามและน่าอยู่ มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีทางเท้าที่สะอาด แต่สำหรับในบ้านเราแล้ว ถนนคือสิ่งที่รถยนต์ครอบครอง ส่วนทางเท้ามีไว้สำหรับพ่อค้าแม่ขายด้วยความเป็นสังคมตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ทว่าในอีกแง่มุมหนึ่ง “ถนน” ก็เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถสร้างความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างกันได้ จากน้ำใจของ 'การแบ่งปัน' เพื่อใช้ถนนร่วมกัน ก่อเกิดรอยยิ้มสู่มิตรภาพเล็กๆ  ท่ามกลางการจราจรคับคั่ง “หลายคนคิดว่า บนถนนน่ากลัวและไม่ปลอดภัย แต่หากได้มาลองปั่นจักรยานจริงๆ จะรู้เลยว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มีแต่เราที่คิดกลัวไปเองก่อนหน้า อีกทั้งพาหนะสองล้อคันนี้ยังทำให้ได้เรียนรู้เรื่องราวระหว่างทางมากมาย ไม่ต้องไปเรียนจนชำนาญแล้วถึงมาปั่นบนถนนได้ แต่เทคนิคการปั่นดูตัวอย่างได้จากพี่ๆ รถจักรยานขายล็อตเตอรี่ รถเข็นขายผลไม้ เพียงแค่ต้องปั่นอย่างระมัดระวังเท่านั้นเอง” โตมร บอกทิ้งท้าย

     “กรุงเทพฯ ถือเป็นสวรรค์ของนักปั่น” วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยหรือ TPBS และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2554 วิทยากรอีกหนึ่งท่านได้ให้ประเด็นไว้อย่างน่าสนใจ ว่า “กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่นักปั่นต่างชาติปรารถนา เพราะด้วยความที่เมืองเป็นพื้นที่ราบเสียส่วนใหญ่ ผิดกับต่างประเทศที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เนินเขาสูงต่ำ ทำให้เสียพลังงานเยอะในการปั่นจักรยาน แต่เมื่อย้อนกลับมาดูที่บ้านเรา จะเห็นว่าสิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ สร้างความเข้าใจร่วมกันว่าถนนไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง”

    ในอนาคตเชื่อได้เลยว่า “จักรยาน” จะไม่เป็นเพียงแค่พาหนะสำหรับการท่องเที่ยวดูนกชมไม้ เหมือนเมื่อสมัย 10 ปีที่แล้วเท่านั้น แต่จักรยานจะเป็นพาหนะหลักลำดับต้นๆ ที่ทุกคนเลือกใช้พาตัวเองไปยังปลายทาง ประการหนึ่งไม่ใช่เพราะมันลดมลภาวะได้เท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบัน จักรยานเดินทางได้เร็วกว่าพาหนะทั่วไปในเมืองหลวง...

    และหากการสร้างค่า "ความตระหนัก" ในเรื่องของ "การแบ่งปัน" ไม่เกิดขึ้น การสร้างเมืองน่าอยู่ที่เอื้อต่อสุขภาวะอย่างแท้จริง ก็คงไม่อาจเกิดขึ้นได้


    • Update : 15/7/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved