หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CC006 259.00  1
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เลือกซื้อ 'อาหาร' สักนิด...ชีวิตปลอดภัย

    เลือกซื้อ 'อาหาร' สักนิด...ชีวิตปลอดภัย

    เมื่อต้นทาง 'อาหาร' มิได้พึ่งเกษตรอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค การเลือกซื้ออาหารในปัจจุบัน ที่โดยมากแล้วมาจากการเกษตรที่ใช้สารเคมี และผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม จึงเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังให้ดี!

    “... ทั่วแคว้นแดนไทย เราไถเราหว่าน หมากม่วงหมากขาม หมากพร้าว หมากกลาง พืชผลต่างๆ ล้วนงามตระการ ...”

    บทเพลง 'ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว' ประพันธ์โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ น่าจะช่วยสะท้อนภาพ 'การเกษตรกรรม' ในอดีต ซึ่งเป็นรากฐานการผลิตอาหารในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีว่า มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความมั่นคงทางอาหารมากเพียงใด

    แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยจะยังคงได้ชื่อว่าเป็น ‘ประเทศเกษตรกรรม’ หากแต่ผลพวงจากการปฏิวัติเขียวทางการเกษตรเมื่อปี พ.ศ. 2509 ที่หันไปพึ่งการใช้เทคโนโลยี และการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิตให้มากขึ้น จนเป็นเหตุให้ระบบนิเวศไทยสั่นคลอน พืชผักผลไม้ที่ได้ มีสารพิษตกค้าง และผลเสียต่อสุขภาพของคนไทยแล้ว

    ปัจจุบัน บทบาทของ 'อุตสาหกรรมอาหาร' ปลายทางของอาหารจานด่วน หรือที่รู้จักกันในนาม ‘ผลิตภัณฑ์พร้อมรับประทาน’ (Ready to Eat) ทั้งหลายในสังคมทุกวันนี้ ก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคนไทยไม่แพ้กัน

    ลวงตา...ว่า 'สะอาด'

    “โดยภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารมักจะสร้าง 'ภาพมายา' ให้เราเข้าใจว่า มีความสะอาดและปลอดภัย” เป็นการเกริ่นนำถึง 'ภัย' จากอุตสาหกรรมอาหารจาก พชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

    เพราะทั้งวิธีการผลิต การใช้วัตถุดิบ รวมถึงการใช้วัตถุปรุงแต่งรสเพื่อให้อาหารมีรสชาติใกล้เคียงกับการทำอาหารปกติ ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงอาหารมีความปลอดภัยน้อยลง

    “ปัจจุบันพบว่า มีการใช้ข้าวโพดที่มีการตัดต่อพันธุกรรมเข้ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตขนมเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ที่เคยตรวจพบก็คือ การใช้สารกันบูดมากเกินค่ามาตรฐานในขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว และสัตว์แปรรูป ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก ลูกชิ้น หรืออาหารต่างๆ ที่ต้องการใส่เพื่อไม่ให้อาหารเสื่อมสภาพ โดยหากอ่านฉลากของอาหารแล้วจะพบว่า ร้อยละ 70 จะเป็นอาหารที่เขียนว่า ใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ซึ่งก็คือสารเคมีเพื่อปรุงรส แต่งสี กลิ่น รวมถึงยืดอายุของอาหารให้ยาวนานขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลประกอบที่แสดงให้เห็นว่า อาหารจากอุตสาหกรรมไม่ได้มีความปลอดภัยอย่างที่เข้าใจ”

    ฉะนั้น หากผู้บริโภคยังคงชื่นชอบ และมีค่านิยมว่า รับประทานอาหารที่ใดก็ได้ ขอเลือกความสะดวกไว้ก่อน ก็จะมีอันตราย 'แฝง' มาแบบที่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว...

    ไม่รู้ที่มา...อันตราย

    สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยอาหาร พชร อธิบายว่าคือหลักคิดที่ว่า จะผลิตอย่างไรให้ออกมาถูกใจผู้บริโภค เนื่องจากการใช้วัตถุปรุงแต่งมากเกินความจำเป็น จะยิ่งเสี่ยง และมีผลเสียต่อระบบขับถ่าย รวมถึงเป็นสารพิษตกค้างในร่างกายของผู้บริโภคด้วย

    “กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน ยังยากที่จะสืบย้อนกลับว่า อาหารที่เราซื้อมารับประทาน มีต้นทางของวัตถุดิบและมีวิธีการทำมาอย่างไร ซึ่งการที่เราไม่รู้ว่า 'มาจากไหน ทำมาได้อย่างไร' นี่แหละ คือความเสี่ยงที่น่ากลัวที่ทำให้ผู้บริโภคเหมือนถูกปิดตาในถ้ำมืด เพราะโดยมากแล้วการทำอุตสาหกรรม ก็มักจะมุ่งเน้นที่ผลกำไรสูงสุด จึงนำมาซึ่งความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภคน้อย

    ส่วนในเรื่องของการใช้สารเคมี หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ กระทั่งการใช้อาหารที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจากข้อมูลที่ผ่านมา มีการนำวัตถุดิบที่ตัดต่อพันธุกรรมมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมอาหารแล้ว เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง แซลมอน เป็นต้น หากแต่ที่พบเจอในประเทศไทยซึ่งสังเกตได้จากฉลากอาหารเท่านั้น ก็จะเป็นพืชตระกูลถั่วและข้าวโพด”

    นอกจากนี้ โภชนาการทางอาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม ทั้งรสชาติที่หวาน มัน และเค็มจัด ก็ล้วนแต่ปัจจัยอันตรายต่อ ‘สุขภาพ’ เป็นเหตุให้มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่การระคายเคืองทางผิวหนัง (จากสารโพลีฟอสเฟต – สารคงความสด และให้รสอร่อย) ก็เป็นผลจากการกระทำของตัวเองทั้งสิ้น

    เลือกซื้อสักนิด...ลดความเสี่ยง

    ธนกร เจียรกมลชื่น ผู้ประสานงานโครงการการสร้างสังคมผู้บริโภคสีเขียว กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจกับอาหารปลอดภัยมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการรวมกลุ่มเครือข่ายอาหารปลอดภัย ข้าวอินทรีย์ และตลาดนัดสีเขียว เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มหนึ่ง เริ่มตระหนักแล้วว่า บางครั้ง ‘การเลือกซื้ออาหาร’ มารับประทาน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรักษาสุขภาพ

    เช่นเดียวกับ สำนวนดัง you are what you eat ซึ่งสะท้อนภาพให้เห็นว่า ‘คุณกินอย่างไร ก็จะได้สิ่งนั้น’ ไว้อย่างชัดเจน

    “ทั้งนี้ อาหารจากเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มีราคาแพงเสมอไป เพราะในต่างจังหวัดที่สามารถปลูกได้ดี และมีผลผลิตเพียงพอ ก็สามารถขายได้ในราคาถูก”

    ไม่เพียงเท่านั้น ในกลุ่มคนเมืองเอง ธนกร เล่าว่า ก็เริ่มมีการรวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการปลูกผักสวนครัวตามระเบียง และรอบบ้านไว้กินเองบ้างแล้ว

    ขณะเดียวกัน พชร ยังให้แง่มุมว่า การแบ่งเวลาทำอาหารกินเองบ้าง ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้อาหารมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะคำว่าอาหารปลอดภัย นอกจากจะต้องย้อนรอยถึงที่มาของอาหารได้แล้ว กรรมวิธีในการผลิตก็สำคัญ

    “อย่างน้อยๆ ก็รู้ว่าอาหารที่ทำเอง มีวิธีปรุงรสอย่างไร และย่อมแน่ใจว่า มีการทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนนำมาประกอบอาหารแน่นอน นอกจากนี้ การปลูกพืชสวนครัว อย่างมะนาว หัวหอม หรือใบกะเพราไว้รับประทานเองที่บ้าน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดอันตรายจากการซื้ออาหารมารับประทานด้วยเช่นกัน”

    ด้วยเหตุนี้ การเลือกซื้ออาหารมื้อต่อไป จึงควร ‘หยุดคิด’ เพื่อเลือกซื้อสักนิด ดีกว่า ‘ซื้อไม่คิด’ เสี่ยงพิษร้ายในอาหาร และส่งผลเสียกับสุขภาพในระยะยาวค่ะ


    • Update : 18/6/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved