หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ความเป็นมา:สวดมนต์

    ความเป็นมา:สวดมนต์

    เกี่ยวกับการเจริญพระพุทธมนต์ หรือการสวดมนต์ อ่านบทความของท่านเจ้าคุณพระวิจิตรธรร มาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ท่านเล่าไว้ว่า การเจริญพระพุทธมนต์มีจุดกำเนิดมาจากการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ เพื่อทรงจำและสืบต่อคำสั่งสอนของพระพุทธองค์โดยตรง โดยพระสงฆ์สาวกสมัยพุทธกาลได้นำพระสูตรต่างๆ มาสวดสาธยายในรูปแบบการบริกรรมภาวนาให้เกิดเป็นสมาธิ จึงเรียกว่าพระพุทธมนต์

    เมื่อบริกรรมภาวนาพระพุทธพจน์จนจิตเป็นสมาธิย่อมเกิด พลานุภาพในด้านต่างๆ เช่น ทำให้เกิดสิ่งที่ดีงามขึ้นในชีวิต จิตใจไม่ดีก็จะดี ชีวิตไม่ดีก็จะดี สุขภาพไม่ดีก็จะดี หน้าที่การงานไม่ดีก็จะดี ครอบครัวไม่ดีก็จะดี ในขณะเดียวกันก็ต้านทานสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต

    ต่อมาจึงมีผู้นิยมนำพระพุทธพจน์มาใช้เป็นพระพุทธมนต์เพื่อต้านทานสิ่งไม่ดีทั้งหลาย พระพุทธมนต์จึงถูกเรียกว่า "พระปริตร" แปลว่า เครื่องต้านทาน ป้องกัน รักษา ภายหลังพระพุทธมนต์ที่มีอานุภาพในการต้านทาน คุ้มครอง ป้องกัน รักษา จึงถูกเรียกว่า พระปริตร ตามไปด้วย

    การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ในครั้งพุทธกาลใช้วิธีเรียนแบบบอกปากต่อปาก แล้วท่องจำสวดสาธยายต่อๆ กันมา เรียกว่า มุขปาฐะ วิธีเล่าเรียนพระพุทธพจน์ที่เรียกว่ามุขปาฐะนี้ พระสาวกใช้มาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ โดยพระสงฆ์ในสมัยนั้นแบ่งหน้าที่กันท่องเป็นหมู่คณะตามความถนัด เช่น พระอุบาลีเถระทำหน้าที่ทรงจำพระวินัย ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระวินัยก็เรียนพระวินัยจากพระอุบาลีเถระ, พระอานนท์เถระทรงจำพระสูตร ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระสูตรก็เรียนพระสูตรต่อจากพระอานนท์เถระ และพระสารีบุตรเถระทรงจำพระอภิธรรม ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระอภิธรรมก็เรียนพระอภิธรรมต่อจากพระสารีบุตรเถระ แล้วก็ร่วมกันสวดสาธยายเป็นหมู่คณะตามโอกาส แม้ที่พักอาศัยก็จะอยู่รวมกันเป็นคณะเพื่อสะดวกต่อการร่วมกันสวดสาธยายพระพุทธพจน์ที่ตนถนัด

    ในพระวินัยปิฎกยังระบุว่า ในอาวาสที่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่มากรูปจะต้องให้มีพระภิกษุสวดปาติโมกข์ คือการสวดทบทวนศีล 227 ข้อของพระสงฆ์ได้ 1 รูปเป็นอย่างน้อย หากไม่มีจะต้องขวนขวายส่งไปเรียนยังสำนักที่มีผู้สวดได้ หากไม่ทำเช่นนั้นจะปรับอาบัติแก่เจ้าอาวาสเพราะโทษที่ไม่ใส่ใจจะให้มีผู้ทรงจำพระปาติโมกข์ แสดงให้เห็นว่าสมัยพุทธกาลนั้นได้มีการนำพระพุทธพจน์มาท่องบ่นสาธยายกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว

    ลำดับพระเถระที่สืบต่อพระพุทธพจน์ ในสมันตปาสาทิกาคัมภีร์อรรถกถาอธิบายพระวินัยปิฎกได้แสดงลำดับพระเถระที่สืบต่อพระวินัยตั้งแต่พระอุบาลีเถระจนถึงสังคายนาครั้งที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีลำดับพระเถระ 5 ท่าน ดังนี้ พระอุบาลีเถระ ทรงจำไว้เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า, พระทาสกะ ทรงจำต่อจากพระ อุบาลีเถระ, พระโสณกะ ทรงจำต่อจากพระทาสกะ, พระสิคควะ ทรงจำต่อจากพระโสณกะ และพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ทรงจำต่อจากพระสิคควะ นอกจากนั้นเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระสารีบุตรเถระได้ริเริ่มจัดหมวดหมู่พระพุทธพจน์ไว้เป็นแบบอย่างแล้วเพื่อสะดวกแก่การทรงจำ จนเกิดพระสูตรหนึ่งชื่อ สังคีติสูตร แปลว่า พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือพระสูตรว่าด้วยการจัดระเบียบคำสอนนั่นเอง

    ภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 3 เดือน ได้มีการจัดระเบียบแบบแผนการทรงจำคำสอนใหม่อย่างเป็นระบบ เรียกว่า การสังคายนา โดยพระอรหันต์ 500 รูป มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน และได้มีมติจะรักษาพระพุทธพจน์ที่จัดระเบียบไว้แล้วด้วยวิธีมุขปาฐะ หรือวิธีท่องจำ ภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานประมาณ 450 ปี จึงได้มีการบันทึกพระพุทธพจน์เป็นตัวหนังสือที่ลังกาทวีป สาเหตุมาจากบ้านเมืองมีความผันผวนอันเกิดจากภาวะสงครามจึงยากแก่การทรงจำพระพุทธพจน์


    • Update : 13/6/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved