หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การตั้งชื่อพระ-พระประธาน : คำวัด

    การตั้งชื่อพระ-พระประธาน : คำวัด

                  คตินิยมในการเฉลิมพระนามพระพุทธรูป หรือการตั้งชื่อพระพุทธรูปนั้น ในหนังสือ "พุทธนาคบริรักษ์ ๔๘ พรรษา สยามบรมราชกุมารี" ซึ่งเป็นหนังสือที่กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา พุทธศักราช ๒๕๔๖ หนังสือนี้พระองค์ได้พระราชทานให้ห้องสมุดต่างๆ ทั่วประเทศ ได้รวบรวม การเฉลิมพระนามพระพุทธรูปไว้ดังนี้

                  ๑.เฉลิมพระนามตามพระนามพระพุทธเจ้า เช่น พระพุทธโลกนาถ พระพุทธโคดม พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นต้น

                  ๒.เฉลิมพระนามตามลักษณะและวัสดุที่จัดสร้างพระพุทธรูป เป็นต้นว่า ตามวัสดุที่สร้าง เช่น พระแก่นจันทน์ (สร้างจากไม้แก่นจันทน์) พระแก้วมรกต (สร้างจากหยกสีเขียว) หลวงพ่อศิลา (สลักจากหิน) หลวงพ่อทองคำ (สร้างจากโลหะทองคำทั้งองค์) เป็นต้น

                  ๓.เฉลิมพระนามตามลักษณะเด่นบางประการของพระพุทธรูป องค์นั้น เช่น พระอัฏฐารส (พระสูง ๑๘ ศอก) พระเจ้าแข้งคม (วัดศรีเกิดเชียงใหม่ พระชงฆ์ ๒ ข้างเป็นสันคม) หรือตั้งตามขนาดของพระพุทธรูป เช่น หลวงพ่อโต (พระพุทธรูปมีลักษณะองค์ใหญ่โต) หรือตามสีของโลหะ เช่น หลวงพ่อดำ (พระพุทธรูปสีดำ) หลวงพ่อขาว (พระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว) เป็นต้น

                  ๔.เฉลิมพระนามตามเทคนิคหรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นขณะการสร้าง เช่น พระเหลือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ซึ่งเป็นพระที่หล่อจากเศษทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช

                  ๕.เฉลิมพระนามเพื่อเป็นมงคลอนุสรณ์ แก่บุพการีชนหรือผู้สร้าง เช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธรูป ๒ องค์ คือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อุทิศถวายแด่รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ เป็นต้น

                  ๖.เฉลิมพระนามตามพุทธานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ที่ประจักษ์แจ้ง เช่น พระไพรีพินาศ (ศัตรูแพ้ภัย) พระเจ้าทันใจ (เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ได้สร้างสำเร็จภายใน ๑ วัน อธิษฐานสิ่งใดจะได้ดังใจปรารถนาทันใจ) เป็นต้น

                  ๗.เฉลิมพระนามตามนามหรือลักษณะภูมิศาสตร์ของท้องที่ที่พบหรือประดิษฐาน เช่น หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม หลวงพ่อวัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เป็นต้น

                  ๘.เฉลิมพระนามตามปางที่สร้าง เช่น พระฉันสมอ (วัดอัปสรสวรรค์ ปางฉันสมอ) พระป่าเลไลยก์ (หลวงพ่อโต สุพรรณบุรี ปางป่าเลไลยก์) พระพุทธไสยาสน์ (ปางไสยาสน์) เป็นต้น

                  ๙.เฉลิมพระนามอันเป็นมงคลนาม เพื่อความเป็นสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล แก่การสักการบูชา ตามเห็นสมควร

                  ส่วนคำว่า "พระประธานนั้น" พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายไว้ว่า พระประธาน คือ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์

                  พระประธาน ถือกันว่าเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า คล้ายกับพระองค์ประทับเป็นประธานในเวลาทำสังฆกรรม หรือเวลาในการทำกิจของสงฆ์ หรือในเวลาที่พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา เข้าเฝ้าตอนทำวัตรเช้า-เย็น

                  เมื่อเอ่ยถึงคำว่า พระประธาน ปกติจะหมายถึง พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมเรียกพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารบ้าง บนศาลาการเปรียญบ้างว่าเป็นพระประธานเหมือนกัน เป็นแต่ว่าเพิ่มคำให้ชัดเจนลงไปว่า พระประธานในวิหาร พระปรธานบนศาลา


    • Update : 27/2/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved