หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    คำวัด:บาเรียน-เปรียญ-บาลี

    บาเรียน-เปรียญ-บาลี : คำวัด

                   สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยคู่กับสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคมซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล หน้าที่หลักคือ ดูแลรับผิดชอบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีระดับชาติ และกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้คัมภีร์เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม ๑-๙ ให้เหมาะสมกับชั้นเรียนของแต่ละประโยค รวมทั้งการจัดสอบประเมินผลการศึกษาบาลีระดับชาติ โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับสนองงาน ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม

                   การสอบบาลีสนามหลวง เป็นการสอบเพื่อวัดผลบาลีเพื่อเลื่อนชั้นเปรียญธรรมประจำปีของชาติ พระสงฆ์เจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงมีหน้าที่วางแผน วางนโยบาย ประเมินและดำเนินการเพื่อให้การศึกษาของสงฆ์ตามหลักสูตรเปรียญธรรมของชาติมีประสิทธิภาพและคุณภาพ

                  อย่างไรก็ตามมีคำที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของพระเณร ๓ คำ คือ "บาเรียน เปรียญ และบาลี" ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า บาเรียน หมายถึง ผู้เล่าเรียน ผู้รู้ธรรม ผู้คงแก่เรียน

                   บาเรียน เป็นคำเก่า ใช้เรียกภิกษุผู้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสายบาลี จนสอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรมตั้งแต่ประโยค ๓ ขึ้นไป และมีสิทธิ์ใช้คำว่า "พระมหา" นำหน้าชื่อ โดยเรียกว่า "พระมหาบาเรียน" เช่นใช้ว่า "ท่านเป็นถึงพระมหาบาเรียน ย่อมมีความรู้เรื่องศาสนาเป็นอย่างดี

                  บาเรียน คำนี้ปัจจุบันไม่นิยมใช้ แต่นิยมใช้คำว่า "เปรียญ" แทน เช่น "พระมหาเปรียญสมัยนี้มีโอกาสกว่าเก่ามาก เพราะมีครูบาอาจารย์ที่จะสอนมาก

                 ส่วนคำว่า เปรียญ (ปะ-เรียน) เป็นคำที่ใช้เรียกภิษุสามเณรผู้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ประโยค ๓ ขึ้นไป จนถึงประโยค ๙ ว่า พระเปรียญ หรือพระเปรียญธรรม สามเณรเปรียญ หรือสามเณรเปรียญธรรม มี อักสรย่อว่า ป. หรือ ปธ.

                 การเป็นเปรียญนั้น พระเจ้าแผ่นดินทรงมีกระกรุณามหาธิคุณโปรดเกล้าแต่ตั้งจึงเรียกพระมหาเปรียญ อีกอย่างหนึ่ง พระมหาโบราณเรียกว่า พระมหาบาเรียน ทั้งนี้ คำว่า "มหา" ใช้เรียกเฉพาะภิษุเท่านั้น มิได้ใช้เรียกสามเณรเปรียญด้วย

                 ภิกษุสามเณรเปรียญมีสิทธิ์ใส่วุฒิการศึกษาต่อท้ายชื่อได้ เช่น มหาสำราญ ป ๖. หรือ ป.ธ.๖ (อ่านเต็มว่าเปรียญประโยค ๖ หรือ เปรียญธรรมประโยค ๖)

                  ในขณะที่คำว่า "บาลี" เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า ภาษาที่รักษาพุทธพจน์ไว้ หมายถึง ภาษาที่ใช้เป็นหลักในการทรงจำ และจารึกธรรมพุทธพจน์ คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธศาสนา เรียกเต็มว่า "ภาษาบาลี" บางครั้งเรียกว่า "ภาษามคธ" ซึ่งเป็นภาษาของชาวแคว้นมคธ เป็นแคว้นสำคัญในสมัยพุทธกาล เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เผยแผ่พระพุทธศาสนา

                 คำว่า "บาลี" ยังหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือข้อความที่อยู่ในพระไตรปิฎกโดยตรงก็ได้ เช่นพูดว่า "ค้นดูบาลีให้ดี อย่าให้พลาดได้" หมายถึงการค้นพระพุทธพจน์นพระไตรปิฎกนั่นเอง


    • Update : 11/2/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved