หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    กาแฟลดน้ำหนักอันตรายกว่าที่คิด

    กาแฟลดน้ำหนักอันตรายกว่าที่คิด

            ทางลัดสำหรับคนอยากหุ่นดีโดย ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องออกกำลังกาย หนีไม่พ้นยาลดน้ำหนักสารพัดรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันปรับเปลี่ยนให้ดูเหมือนไม่มีพิษมีภัยในคราบของ "กาแฟลดน้ำหนัก" มีทั้งที่แอบประกาศสรรพคุณกันทางโทรทัศน์ และ แฝงมากับความหวังดีของเพื่อนสาวในลักษณะบอกต่อ ซึ่งก็คือ กลยุทธ์ของธุรกิจขายตรงนั่นเอง แต่ที่ร้ายยิ่งกว่าการโฆษณาชวนเชื่อให้สาวๆ หรือหนุ่มๆ เสียเงินไปกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้โดยเปล่าประโยชน์ ก็คืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพแบบที่หลายคนคาดไม่ถึง โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ออกมาเตือนผู้บริโภคชาวไทยหลังจากเมื่อเร็วๆ นี้ประเทศเยอรมนีตรวจพบสารไซบูทามีน ในกาแฟลดน้ำหนักจากประเทศไทย

              ทั้งนี้ศูนย์ทดสอบนิตยสารฉลาดซื้อ เคยทำการทดสอบกาแฟลดน้ำหนัก และเผยแพร่ลงในนิตยสารฉลาดซื้อถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับ กาแฟลดน้ำหนักว่า โดยทั่วไปกาแฟที่ให้ผลในการลดน้ำหนักนั้น แท้จริงแล้วเป็นกาแฟที่มีส่วนผสมของยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในอาหารทุกประเภท ซึ่งสารชนิดนี้ก็คือ "สารไซบูทรามีน" ที่ประเทศเยอรมนีตรวจพบนั่นเอง

              แต่หากเป็นกาแฟธรรมดาๆ คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ระบุชัดเจนว่า กาแฟ เป็น "อาหาร" ไม่ใช่ "ยา" จึงไม่มีสรรพคุณลดน้ำหนัก

              ด้วยเงื่อนไขนี้เองที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตกาแฟที่ผลิตออกมาเพื่อจูงใจสาวๆ ที่อยากผอม จะไม่มีการบอกสรรพคุณหรือโฆษณาออกมาตรงๆ ว่าดื่มแล้วผอม ดื่มแล้วช่วยลดน้ำหนัก เพราะถ้าทำแบบนั้นจะมีความผิดเข้าข่าย อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทันที ผลิตภัณฑ์กาแฟเหล่านี้จึงเลี่ยงไปใช้ภาพสาวๆ หุ่น ผอมเพรียว ไม่ก็นางแบบหุ่นดี ลงในโฆษณาหรือในแพ็คเก็จของสินค้า

       รวมทั้งวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลอย่างการเติมคำว่า "สลิม" (Slim) "เชพ" (Shape) "เฟิร์ม" (firm) ต่อท้ายชื่อสินค้า เป็นอันรู้กัน(หรือปล่อยให้ผู้บริโภคคิดเอาเอง) ว่าผลิตภัณฑ์กาแฟที่ใช้เทคนิคเหล่านี้ในการโฆษณาคือกาแฟเพื่อการลดน้ำหนัก นอกจากนี้ส่วนประกอบหลักของกาแฟ (ที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก) ประกอบด้วยครีมเทียมประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ และกาแฟอีก 10 กว่า เปอร์เซ็นต์ ส่วนพวกสารอาหารต่างๆ ที่เติมเข้ามาหวัง เป็นจุดขายเรื่องสุขภาพ เช่น แอล-คาร์เนทีน

              คอลลาเจน หรือสารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ ก็มีอยู่อีกแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อดูจาก ส่วนประกอบแล้วเป็นไปไม่ได้เลยว่าดื่มแล้วจะมีผลในการลดน้ำหนัก

              เมื่อลองมาดูเปรียบเทียบส่วนประกอบของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ดื่มแล้วไม่อ้วน กับกาแฟผงพร้อมชงทั่วไป จะพบความจริงว่า ปริมาณสารอาหารแทบไม่มีความแตกต่างกัน จุดเด่นของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก คือเรื่องของพลังงาน ซึ่งในกาแฟทั่วไป อย่างกาแฟผงพร้อมชงสูตร 3 in 1 หนึ่งซองจะให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี ขณะที่กาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักจะให้พลังงานเฉลี่ยต่อหนึ่งซองอยู่ที่ 60-70 กิโลแคลอรี ที่แม้จะน้อยกว่าแต่ก็แตกต่างกันไม่มาก อีกปัจจัยหนึ่งที่ถูกใช้เชื่อมโยงว่าสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ก็คือ สารทดแทนความหวาน เพราะความที่เป็นกาแฟที่(แอบ)โฆษณาว่าดื่มแล้วดีต่อสุขภาพ ดื่มแล้วไม่อ้วน จึงหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาล แต่จะใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นๆ แทน ซึ่งตัวอย่างกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักที่มีการสำรวจ พบว่า สารให้ความหวานที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ ซูคราโรส (Sucralose) และ แอสปาร์เทม (Aspartame) ที่ใช้ร่วมกับ อะซีซัลเฟม-เค (Acesulfame-K)

              ข้อดีของสารทดแทนความหวานคือ ให้ความหวานได้เท่ากับหรือมากกว่าน้ำตาล แต่ให้พลังงานน้อยกว่า อย่างไรก็ดีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะ แอสปาร์เทม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรค ฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) ซึ่งเป็น กลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่ สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ เป็นสาเหตุของอาการโลหิตเป็นพิษ ทาง อย. จึงออกข้อบังคับให้ทุกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้แอสปาร์เทมต้องมีคำเตือนห้ามไม่ให้ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโต- นูเรียรับประทาน สุดท้ายคือข้อสงสัยเรื่องสารอาหารที่ใส่มาในกาแฟ ไม่ว่าจะเป็น สารสกัดจากถั่วขาว, แอล-คาร์นิทีน, โอลิโกฟรุตโตส ฯลฯ โดยอ้างว่า สารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เกิดการเผาผลาญในร่างกาย หรือไม่ก็ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งน่าจะให้ผลในการควบคุมน้ำหนัก ทั้งหมดล้วนเป็นความเข้าใจที่ผิด สาเหตุที่หลายคนดื่มกาแฟประเภทนี้ แล้วรู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้น จนชวนให้คิด ไปว่าน่าจะเกิดกระบวนการเผาผลาญขึ้นในร่างกาย แท้จริงแล้วเป็นเพราะการที่ร่างกาย กำลังตื่นตัวหลังจากดื่มกาแฟ ซึ่งเป็นคุณสมบัติทั่วไปที่เกิดจากดื่มกาแฟอยู่แล้ว ฤทธิ์ของกาเฟอีนช่วยทำให้เกิดการเผาผลาญใน ร่างกายจริง แต่ไม่ได้ถึงขนาดที่ทำให้น้ำหนัก ลดลง

              เช่นเดียวกับสารต่างๆ ที่ใส่เพิ่มเข้ามา แม้จะช่วยเร่งการเผาผลาญแต่ก็ไม่ได้ทำให้ น้ำหนักลดลง ผอม รูปร่างดี

              ที่สำคัญสารอย่าง แอล-คาร์นิทีน ซึ่งอาจมีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งเผาผลาญไขมันส่วนเกิน แต่จะได้ผลก็ต่อเมื่อมีการออกกำลังกายควบคู่กันไป ไม่ได้มีผลต่อการลดน้ำหนักโดยตรง แถมสารต่างๆ ที่ใส่ในกาแฟลดน้ำหนักก็ไม่มีงานวิจัยหรือข้อมูลทางการแพทย์ใดๆ ที่รับรองผลว่าจะช่วยลดน้ำหนักลงได้ ดังนั้นหากกาแฟจะช่วยลดน้ำหนักได้จริง ก็น่าจะเป็นผลมาจากการแอบเติมสารต้องห้ามประเภทยาลดน้ำหนักเข้าไปมากกว่า โดยเฉพาะ สารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษที่เคยใช้กับผู้ป่วยโรคอ้วน (คือหมายถึง คนที่ป่วยจริงๆ ไม่ใช่คนที่คิดว่าตัวเองอ้วน หุ่นไม่ดีแล้วอยากจะลดน้ำหนัก)

              แต่เพราะความรุนแรงของสารตัวนี้ มีผลถึงขั้นทำให้หัวใจหยุดทำงาน และการที่มีผู้ไม่หวังดีนำสารไซบูทรามีนไปใส่ในอาหารเสริมแล้วอ้างสรรพคุณว่าดื่มแล้วช่วยให้ น้ำหนักลดซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ อย. ต้องตัดสินใจประกาศยกเลิกตำรับยา ชนิดนี้

              แต่ก็ยังไม่วายมีคนนำสารไซบูทรามีน มาใส่ในผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าช่วยลดความอ้วน ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงกาแฟด้วย โดยที่ผ่านมา อย. เคยตรวจพบในกาแฟสำเร็จรูปนำเข้าจากจีนยี่ห้อ Slimming Coffee Splrultn เมื่อช่วงปลายปี พศ.2554 ขณะที่ล่าสุดประเทศเยอรมนีก็มีการตรวจพบสารไซบูทามีน ในกาแฟลดน้ำหนัก จากประเทศไทย เพราะฉะนั้นดีที่สุดต่อสุขภาพคือ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงทั้งการดื่มกาแฟ และผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าดื่มแล้วช่วยทำให้ น้ำหนักลดทุกชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่ ไม่มีเลขมาตรฐานอาหารของ อย. เพราะอาจกำลังเสี่ยงอันตรายจากสารไซบูทรามีนโดยไม่รู้ตัว
              หมายเหตุ
              หากพบเห็นหรือมีไม่แน่ใจว่ากาแฟลดน้ำหนักที่ซื้อหามาทานนั้นมีสารไซบูทามีนหรือไม่ ให้แจ้งไปยัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทดสอบนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โทร. 0 2248 3737 ต่อ 125-129 , 08 9761 9150, 08 9765 9151


    • Update : 6/2/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved