หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทําไมต้องยกช่อฟ้า

    ทําไมต้องยกช่อฟ้า

    "ช่อฟ้า" ตีความตามนามหมายถึงช่อหรือกิ่งที่ยื่นขึ้นไปบนท้องฟ้า เป็นนัยแห่งการบูชาพระรัตนตรัยและปวงเทพเจ้าบนสวรรค์ชั้นฟ้าประการหนึ่ง ช่อฟ้าเป็นเครื่องสูงที่อยู่สูงสุดในงานสถาปัตยกรรมไทย ที่ประกอบด้วย ช่อฟ้า รวยระกา ใบระกา นาคสะดุ้ง หรือ งวงไอยรา และ หางหงส์ ซึ่งรวมเรียกว่า "เครื่องลำยอง" เป็นกรอบประดับหน้าบัน อันหมายถึงวิมานแห่งทวยเทพ เนื่องด้วยองค์พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า และองค์พระมหากษัตริยาธิราช ล้วนแล้วแต่ยังมีพระภาคหนึ่งเป็นเทพเจ้าตามคติแต่โบราณ

    ช่อฟ้าของสยาม มักพบลักษณะเป็นกิ่งหรือช่อเดียวยื่นขึ้นไปบนฟ้าเหนือสันหลังคา ดูโดยรวมมีลักษณะเป็นหางพญานาคพันกันเหนือตัวอาคาร ก่อนที่จะแยกเป็นตัวนาคเลื้อยลงมาตามชายขอบของหน้าบัน แล้วผงกเศียรนาคตั้งขึ้นบริเวณเชิงชายด้านล่างเรียกว่าหางหงส์ สาเหตุที่ช่างจินตนาการชุดเครื่องลำยองเป็นรูปนาค เนื่องจากคติที่ว่าพญานาคมีความเกี่ยวพันและรับหน้าที่ปกป้องดูแลพระพุทธศาสนา เช่น พญานาคนามมุจลินทร์ที่แผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้ามิให้ฝนต้องพระกายา จนกลายเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก จึงนิยมนำรูปนาคมารายล้อมพระอุโบสถและศาสนสถานเพื่อคุ้มครอง พระศาสนา

    เข้าใจว่าผู้คนในดินแดนอุษาคเนย์นิยมประดับประดาให้มีส่วนยื่นเลยหลังคา เช่น การนำเขาควายบ้าง นำไม้มาไขว้กันบ้าง ในลักษณะที่ทางเหนือเรียกว่า "กาแล" โดยเชื่อว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเก่งกล้าในการล่าสัตว์ หรือมีความเชื่อว่าจะไล่นกแสก กา นกเค้าแมว ที่ถือว่าไม่เป็นมงคลเพราะเป็นพาหนะของยมทูต เมื่อเกาะบ้านใดเท่ากับมียมทูตมารับตัวไป คนโบราณจึงนำปีกไม้ใหญ่ๆ มาไขว้กันให้นกเหล่านี้หลงว่าเป็นเหยี่ยวหรืออินทรีไม่กล้ามาใกล้ อันเป็นความหมายว่าเมื่อนกกาแลเห็นจะเกิดความกลัว นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่า กาแลเป็นสัญลักษณ์ที่รับมาครั้งพม่าครองเมืองเหนือ ว่าเรือนใดที่ติดกาแลจะได้รับการยกเว้นภาษีจากทางพม่า

    สำหรับภาคกลาง ไม่นิยมนำเขาสัตว์หรือติดเหนือจั่วแบบกาแล หากแต่จะทำเป็นกิ่งหรือช่อยื่นขึ้นไปอันเดียว ส่วนใหญ่มักจะพบในอาคารสถาปัตยกรรมชั้นสูงที่ได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์และองค์พระมหากษัตริยาธิราช นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าช่อฟ้า แต่จะปรากฏในหลายรูปหลายลักษณะ เช่น ช่อฟ้าปากนก ช่อฟ้าหางปลาไหล ช่อฟ้าปากปลา หรือทำเป็นรูปเทวดา นางฟ้าอยู่เหนือจั่วเหนือหน้าบัน ก็เรียกว่าช่อฟ้าเช่นกัน บ้างก็นิยมติดกระดิ่งรูปใบโพธิ์เข้าไปเพื่อให้ได้ประโยชน์ดั้งเดิม คือไล่นกกาที่จะมาถ่ายรดหลังคา หรือไล่นกอัปมงคลก็ได้เช่นกัน

    ช่อฟ้าถือเป็นของสูง ด้วยนอกจากจะอยู่สูงสุดเหนือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมใดๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องหมายแห่งการครบองค์ประกอบทางอาคารสำคัญของศาสนา เนื่องจากหากยังทำโครงสร้างอื่นไม่เสร็จก็จะยกช่อฟ้าไม่ได้ นอกจากนั้นด้วยลักษณะแห่งการเป็นหางพญานาคจึงเป็นเครื่องหมายแห่งการปกป้องคุ้มครองและขับไล่หมู่มารของพระศาสนา ดังนั้น คนไทยแต่โบราณจึงถือกันว่าการบุญยกช่อฟ้าเป็นการบุญอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ ถือกันมาแต่อดีตว่าผู้ประกอบด้วยบุญญาธิการสูงส่งเท่านั้นจึงจะยกช่อฟ้าได้ มิฉะนั้นก็จะต้องใช้วิธีร่วมบุญ บรรดาสาธุชนจึงร่วมกันเป็นหมู่เหล่าเพื่อให้บุญนั้นมากพอที่จะยกช่อฟ้าได้ และโดยเฉพาะพระอารามหลวงจะหาโอกาสได้ร่วมบุญยกช่อฟ้าเรียกได้ว่ายากเต็มที


    • Update : 21/1/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved