หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CC018 .00  1
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อุกกาบาต (ตอนแรก)

    อุกกาบาต (ตอนแรก)

    เข้าเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย กรรมการสมาคมฯ วรเชษฐ์ บุญปลอด รวบรวมเรื่องอุกกาบาตตกในเมืองไทย บันทึกไว้ดังนี้

    เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2550 เวลาประมาณ 19.40 น. มีรายงานการเห็นลูกไฟขนาดใหญ่ส่องแสงสว่างสีเขียวอมน้ำเงินเจิดจ้าสวยงามมาก เคลื่อนผ่านท้องฟ้า โดยเห็นได้ในพื้นที่ภาคกลางตอนบนถึงภาคเหนือ วันรุ่งขึ้นมีชาวบ้านที่จังหวัดตาก อ้างว่าเก็บก้อนหินที่เชื่อว่าเป็นอุกกาบาตได้ เป็นข่าวที่สร้างความแตกตื่นจนกระทั่งกรมทรัพยากรธรณีได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปตรวจพิสูจน์

    พบก้อนหินดังกล่าวเป็นสีขาว ผิวขรุขระ มีรูพรุนทั่วทั้งก้อน เส้นผ่านศูนย์ กลาง 10 นิ้ว น้ำหนัก 4.5 กิโล กรัม กรมทรัพยา กรธรณีวิเคราะห์และสรุปว่าเป็นทูฟา (Tufa) ตะกอนเคมีที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีหรือการระเหยของน้ำจนทำให้เกิดการพอกเป็นเปลือกชั้นบางๆ โดยมักพบบริเวณน้ำพุ ธารน้ำไหล หรือในถ้ำ ไม่มีลักษณะที่แสดงว่าเป็นอุกกาบาตจากนอกโลกแต่อย่างใด

    ส่วนดาวตกที่สว่างมาก นักดาราศาสตร์เรียกว่าลูกไฟ หรือทับศัพท์ว่าไฟร์บอล (fireball) อย่างที่เห็นในคืนวันที่ 14 กรกฎาคม นั้น โดยปกติไม่ค่อยมีให้ได้เห็นกันบ่อยๆ อุกกาบาตที่ตกลงสู่พื้นโลก ยิ่งพบเห็นได้น้อยมาก แต่ถ้าพิจารณาแล้วทั้งสองอย่างอาจมีอยู่พอสมควร แต่ส่วนใหญ่ไปตกในพื้นที่ป่า มหาสมุทร หรือสถานที่ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่

    ก้อนหินจากอวกาศที่ตกลงบนพื้นโลกที่เรียกว่าอุกกาบาต เป็นชิ้นส่วนของวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อุกกาบาตเหล่านี้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาการก่อกำเนิดและความเป็นมาของระบบสุริยะที่เราอยู่ อาจแบ่งประเภทของอุกกาบาตที่พบได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ อุกกาบาตหิน อุกกาบาตเหล็ก และอุกกาบาตเหล็กปนหิน

    นับถึงปัจจุบันประเทศไทยมีรายงานการค้นพบก้อนอุกกาบาตที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นของจริงบันทึกไว้ 3 ครั้ง ได้แก่ อุกกาบาตนครปฐม (2466) อุกกาบาตเชียงคาน (2524) และอุกกาบาตบ้านร่องดู่ (2536)

    ทั้งนี้ ข้อมูลบางส่วนนำมาจากบทความของคุณพิชิต อิทธิศานต์ ตีพิมพ์ในนิตยสารอัพเดท ฉบับกรกฎาคม 2536 และจากฐานข้อมูลอุกกาบาตของสหรัฐอเมริกาที่ค้นได้จากอินเตอร์เน็ต

    อุกกาบาตนครปฐมตกลงมาจากฟ้าเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของคืนวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2466 โดยทะลุผ่านหลังคายุ้งข้าวของนายยอด ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อุกกาบาตนครปฐมมี 2 ก้อน ก้อนเล็กหนัก 9.6 กิโลกรัม รวมสองก้อนหนัก 32.2 กิโลกรัม

    จัดเป็นอุกกาบาตหิน มีเหล็กเป็นส่วนผสม 22% รัฐบาลไทยได้อนุญาตให้สหรัฐอเมริกาขอยืมก้อนเล็กไปศึกษา และได้บริจาคชิ้นส่วนหนัก 413 กรัมให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา


    • Update : 8/11/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved