หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประเทศไทยสังคมแห่งการเดินและจักรยานเริ่มง่ายๆ ที่ตัวเอง

    ประเทศไทยสังคมแห่งการเดินและจักรยานเริ่มง่ายๆ ที่ตัวเอง

      การใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยมีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ในปัจจุบันเราต้องผจญภัยกับปัญหาจราจรมลพิษ ความเครียด ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและกายใจ

              เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเดินและจักรยาน : บทเรียนรู้และประสบการณฯ์จาก สหพันธ์ผู้ใช้และนักจักรยานแห่งยุโรป หรือ European Cyclists'Federation (ECF) เพื่อหาแนวทางร่วมกันผลักดันการเดินและจักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศ

              Dr.Bernhard Ensink เลขาธิการสหพันธ์ผู้ใช้และนักจักรยานแห่งยุโรป (ECF) ได้ถ่ายทอดบทเรียนรู้และประสบการณ์จาก EFC ว่า การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในยุโรปนั้น เป็นการมุ่งเน้นไปที่การใช้จักรยานและการเดินเพื่อสุขภาพที่ดี เนื่องจากชาวยุโรปจำนวนไม่น้อยขาดกิจกรรมทางกาย คือ การออกกำลังกาย จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งทรวงอก มะเร็งทวารหนัก โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งในแต่ละปีมีชาวยุโรปเสียชีวิตเกือบ 1,000,000 คน

              "การทำกิจกรรมทางกาย สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากโรค อาทิ ลดการเสี่ยงและการตายจากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตันลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ลดการตายก่อนวัยจากสาเหตุการเดินและใช้จักรยานนั้นจะยิ่งทำให้มลพิษน้อยลง แถมสุขภาพแข็งแรงด้วย"

              Dr.Bernhard บอกอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้วปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยุโรปเป็นเมืองจักรยาน คือ การมีโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ ถนนและการออกแบบผังเมืองอย่างเป็นระบบโดยให้ความสำคัญต่อการเดินเท้าและการขี่จักรยานมากกว่าใช้รถยนต์ซึ่งหากประเทศไทยสามารถเปลี่ยนมาใช้จักรยานมากขึ้นกว่ารถยนต์จะเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ และลดใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองด้วย

              ด้าน ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้เกิดการใช้จักรยานและการเดินได้จริงในประเทศไทย แต่เราคงไม่สามารถผลักดันเรื่องนี้ให้ประสบผลสำเร็จได้เพราะเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ อย่างไรก็ตาม การผลักดันรณรงค์การใช้จักรยานอย่างเดียวจะไม่เกิดผล แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากนักการเมือง ผู้บริหารประเทศเพื่อกำหนดเป็นนโยบายจากภาครัฐ ที่สำคัญคือ เราต้องทำให้รัฐบาลเห็นว่า สิ่งที่เราคิดเป็นสิ่งที่ดีโดยจะมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ตัวเลขทางด้านการเงิน 2.ความต้องการของประชาชนจึงจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าสังคมในปัจจุบันไม่พร้อม เราอาจต้องเริ่มปลูกฝังในเยาวชนนตั้งแต่เด็ก

              รศ.ดร.วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มองว่า การใช้รถจักรยานยนต์บนท้องถนน ทุกวันนี้เป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีความไม่ปลอดภัยจากรถยนต์ที่ขับเร็วและอาจเฉี่ยวชนและอีกปัจจัย คือ ทางเข้าในกรุงเทพฯ ทุกแห่งหนเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง อย่างต้นไม้ ตู้โทรศัพท์ แผ่นป้ายโฆษณา รถประจำทาง แผงลอย ดังนั้น คงเป็นเรื่องที่ภาครัฐและประชาชนต้องร่วมมือกัน

              รศ.ดร.วิโรจน์ บอกอีกว่า หากมีการปรับปรุงบริเวณทางเท้าให้กว้างขึ้นอย่างไม้พุ่มที่อยู่บนทางเท้า ถ้านำออกไปก็จะทำให้ทางเท้ากว้างและคนหันมาเดินมากขึ้น นอกจากนี้ ควรมีการจัดเสวนาให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการเดินและการใช้จักรยานมากขึ้น ดังนั้น อยากเห็นภาครัฐเป็นตัวอย่างที่ดีในการเดินและจักรยานด้วย

              นอกจากนี้ รศ.ดร.วิโรจน์ เปิดเผยงานวิจัย โตรงการ "แนวทางการส่งเสริมการใช้จักรยานในเขตกรุงเทพมหานคร" โดยสุ่มกจากจำนวนผู้สอบแบบสอบถาม 543 คน พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ใช้จักรยานในปัจจุบันจำนวน 174 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 32 และหากมีการพัฒนาส่งเสริมที่เหมาะสม จะมีผู้สนใจใช้มากขึ้นเป็น 333 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ส่วนเหตุผลหลักที่ตัดสินใจไม่ใช้จักรยาน เนื่องจากไม่มีจักรยานในครอบครอง เหตุผลรองลงมาได้แก่ ระยะทางเพื่อเดินทาง
    ไปทำกิจกรรมมีระยะทางไกล และคิดว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีความล่าช้าในการเดินทาง และไม่สะดวกในการเข้าถึงที่หมายและจากการสอบถามในกลุ่มผู้ที่ไม่ใช้จักรยานพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 92 สามารถขี่จักรยานได้  

              การใช้จักรยานหรือการเดินไปทำงานแทนรถยนต์เป็นกิจวัตรประจำวันอย่างในหลายๆ ประเทศในยุโรป อาจเป็นเรื่องยากในสังคมไทยแต่คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเริ่มจากตัวเรา ลองเดินหรือปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกายและลดใช้พลังงาน ใครจะรู้...ลองแล้วอาจจะติดใจก็ได้.


    • Update : 23/10/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved