หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    บุญสารทเดือนสิบ

    บุญสารทเดือนสิบ

    เรื่องประเพณีบุญสารทเดือนสิบไปด้วยเลย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อธิบายว่า ความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจากประเพณี "เปตพลี" ของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ปฏิบัติต่อเนื่องมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์เห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีงามจึงอนุญาตให้พุทธบริษัทปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมา จึงก่อเกิดประเพณีและพิธีกรรมเพื่อให้มีพิธีการปฏิบัติเป็นแบบยึดถือตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น

    ความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบจึงเป็นสื่อให้เกิดการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ หลังจากที่ตายไป เชื่อว่าผู้ทำกรรมใดย่อมได้รับกรรมนั้น ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรกเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะผลแห่งบาปที่ทำไว้และดำรงชีพอยู่ด้วยการอาศัยส่วนบุญจากการอุปการะของญาติพี่น้องหรือผู้อื่นที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ส่วนเดียว จึงจะมีความเป็นอยู่พออยู่ได้ ถ้าไม่มีใครอุทิศไปให้ก็ไม่ได้รับบุญ

    เมื่อลูกหลานเชื่อว่าบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วต้องเสวยกรรมอยู่ในนรก ในช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ จนถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ จะได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานญาติพี่น้องที่เมืองมนุษย์ ดังนั้น ในวันแรม 1 ค่ำจึงมีการทำบุญรับตายาย และในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เป็นวันที่เปตชนทั้งหลายต้องกลับนรกตามเดิม ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษเปตชน อีกทั้งส่งตายายเดินทางกลับ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที จึงมีการทำบุญยกหมรับใหญ่กันอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรพบุรุษเดินทางกลับอย่างมีความสุข มีสิ่งของที่ลูกหลานอุทิศไปให้ใช้ในระหว่างเสวยกรรมเพียงพอในรอบปี โดยหมรับจะถูกยกไปวัด ทำบุญถวายสังฆทาน บังสุกุล อุทิศส่วนกุศลไปให้

    การจัดหมรับ คือการบรรจุสิ่งของลงในภาชนะ ชั้นล่างสุดเป็นสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ประเภทอาหารแห้ง ได้แก่ ข้าวสารใส่รองก้น แล้วใส่พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก รวมทั้งปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นและน้ำดื่ม ชั้นที่สองจัดบรรจุอาหารประเภทพืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ได้แก่ มะพร้าว ฟักทอง ขี้พร้า เผือก หัวมันทุกชนิด กล้วยแก่ อ้อย ตะไคร้ ลูกเนียง สะตอ รวมทั้งพืชผักอื่นที่มีอยู่ตอนนั้น ข้าวโพด ซึ่งนิยมเอามาทั้งต้น ใบ ฝักและเปลือก

    หมรับชั้นที่สาม จัดสิ่งของประเภทเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ขี้ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย หมาก พลู กานพลู การบูร พิมเสน สีเสียด ปูน ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสามัญประจำบ้าน ธูป เทียน ชั้นบนสุดประดับประดาด้วยขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ เป็นสิ่งสำคัญของหมรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมเหล่านี้มีความหมาย และจะขาดเสียมิได้เพื่อให้ผู้ล่วงลับได้นำไปใช้ประโยชน์

    ทั้งนี้ ความหมายของขนมทั้ง 5 อย่าง มีว่า 1.ขนมพอง ใช้แทนพาหนะ เรือ แพที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพ น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ 2.ขนมลาใช้แทนเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพื่อสวมใส่ เพราะขนมลามีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้ 3.ขนมบ้าแทนลูกสะบ้าไว้เล่นในตรุษสงกรานต์ 4.ขนมดีซำ แทนเงินตราเอาไว้จับจ่ายใช้สอย และ 5.ขนมกง หรือไข่ปลา ใช้แทนเครื่องประดับร่างกาย เพราะรูปทรงมีลักษณะคล้ายกำไล แหวน

    ส่วนผู้ล่วงลับส่วนหนึ่งที่ตกอยู่ในสภาพญาติพี่น้องไม่เหลียวแลมาทำบุญให้ สาธุชนจะจัดข้าว อาหาร ขนม เงิน ใส่ภาชนะไปวางไว้ที่ข้างกำแพงวัด โคนไม้ใหญ่ หรือลานวัดข้างป่าช้า เป็นการตั้งเปรตเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ สรุปคือ ขนมลาไม่ได้เอาไปกินแต่เป็นเสื้อผ้า


    • Update : 6/10/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved