หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ข่าวสารพระสงฆ์:โปรดทราบ..การทำบุญมีความเสี่ยง!

    ข่าวสารพระสงฆ์:โปรดทราบ..การทำบุญมีความเสี่ยง!

    การทำบุญมีความเสี่ยง! "โปรด"...ใช้วิจารณญาณก่อนทำบุญ : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู
                  คำว่า “บุญกริยาวัตถุ” แปลว่า “วิธีการทำบุญ เมื่อทำแล้วได้ชื่อว่าเป็นบุญ และจะได้รับผลเป็นความสุข” สรุปโดยย่อมี ๓ ประการ คือ ๑.ทานมัย หมายถึง การให้ทาน ๒.ศีลมัย หมายถึง การรักษาศีล และ ๓.ภาวนามัย หมายถึง การอบรมจิตใจ
     
         
                      “ทานมัย” เป็นการทำบุญของพุทธศาสนิกชนคนไทยเราส่วนใหญ่ที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ การทำบุญในวันพระวันโกน วันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา ออกพรรษา ฯลฯ เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ เทศกาลกินเจ เป็นต้น
        
                      ในอดีตการทำบุญตักบาตรพระพุทธศาสนิกชนจะเชื่ออย่างสนิทในว่า “ได้บุญ” แต่วันนี้” ด้วยเหตุที่มีกลุ่มคนที่ไม่มีความละอาย หรือที่เรียกว่า "อลัชชี" หันมายึดผ้าเหลืองสวมจีวรบังหน้าเพื่อหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง “คนที่โกนหัวห่มเหลืองไม่ได้หมายความว่าจะเป็นพระเสมอไป พระที่ยืนหรือนั่งปักหลักบิณฑบาตมาตรวจสอบว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอมไม่ง่ายนัก"
        
                      ที่ซ้ำร้ายและเป็นการหากินบนความศรัทธา คือ แม่ค้าบางรายที่ขายของทำบุญใส่บาตรมีส่วนรู้เห็นต่อพฤติกรรมหลอกลวงประชาชน เพราะพระที่ยืนบิณฑบาตอยู่อาจเป็นสามี หรือญาติของแม่ค้านั่นเอง เมื่อพระรับของใส่บาตรแล้วก็เวียนเทียนอาหารไปขายใหม่ 
        
                      โยมท่านใดที่จะทำบุญตักบาตรพระ ถ้าเห็นพระนั่งอยู่กับเก้าอี้ก็ดี อย่าไปใส่บาตรเลย พระเวลาบิณฑบาตจะต้องเดินตามลำดับ ไม่ยืนที่ใดที่หนึ่งประจำ หรือมีพระยืนรออยู่ มีโยมยืนอยู่การนั่งผิดแน่นอน ไม่ถูกหลักพระวินัย ปัจจุบันก็มีนั่งอยู่ พระพุทธองค์เคยสอนไว้ เวลาให้ทานต้องเลือกให้ เลือกให้แก่บุคคลที่ควรให้มันจึงจะได้บุญ”
        
                      นี่เป็นคำแนะนำของพระรัตนเมธี เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าจุฬามณี เจ้าคณะเขตบางซื่อ และหัวหน้าพระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร  พร้อมกันนี้ท่านได้มีคำแนะนำไม่ให้ญาติโยมใส่บาตรพระกับพระที่ไม่น่าเลื่อมใสไว้ ๗ ประการ คือ
        
                      ๑.ย่ามใหญ่ ซึ่งภายในย่ามอาจมีผ้าขนหนู เสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน อย่างครบคันรวมอยู่ในย่าม ๒.จีวรไม่สะอาด เพราะต้องนอนตามสถานีรถไฟ ๓.มีบาตรและกลดพระติดตัวในย่านชุมชนเมือง ซึ่งกิจของพระธุดงค์ต้องเดินห่างจากชุมชนเมือง ๒๕ กม.เป็นการเดินในป่าไม่ใช่ในเมือง ๔.นอนมั่วทุกแห่ง ๕.แหล่งที่พักไม่แน่นอน สัญจรอยู่ตลอดเวลา และ ๗.อธิษฐานพรรษาไม่ถูก ไม่มีใบสุทธิ
        
                      “อย่าได้หลงบุญ บ้าบุญ จนทำให้เกิดความทุกข์กับตน แต่ให้ทำบุญให้เกิดคุณ โดยไม่ไปทำลายความดีของบุญ”
        
                      นี่เป็นคำพูดของ “หลวงพ่อพุทธทาส” ที่เคยเทศน์สอนเรื่องการทำบุญ ที่พระพิศาลธรรมพาที หรือ พระพยอม กัลยาโณ พระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดสวนแก้วหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อคิดสำหรับการทำบุญ พ้อมกับอธิบายให้ฟังว่า
        
                      หลวงพ่อพุทธทาส มายความว่าถ้าจะทำบุญก็ให้ทำด้วยความพอดี อย่าทำบุญแล้วต้องพาชีวิตเศร้า เพราะทำกันจนหมดเนื้อหมดตัว บางสำนักมักเชิญชวนให้ญาติโยมทำบุญครั้งละมากๆ โดยบอกว่ายิ่งทำมากยิ่งได้มาก ส่วนญาติโยมพอได้ยินก็พากันทุ่มมากมาย บางคนทำเป็นล้าน ฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจที่ญาติโยมขาดความเข้าใจในเรื่องการทำบุญ เพราะหวังว่ายิ่งทำมากเงินทองก็จะกลับมาหรือได้บุญมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด เพราะการทำบุญในพุทธศาสนานั้นเน้นจิตศรัทธา ไม่ใช่จำนวน
        
                      การทำบุญเป็นสิ่งที่ดีและพึงกระทำ แต่ควรทำให้สมกับฐานะ อย่าทำบุญด้วยความเชื่อที่ว่าทำมากๆจะได้บุญมาก จนกลายเป็นการทำบุญที่มีเท่าไร ก็ทำบุญหมด อันนี้ไม่ถูกใครจะมาทำบุญที่วัดสวนแก้วอาตมาไม่เคยบอกให้ทำกันมากๆ ส่วนเงินที่ญาติโยมทำบุญมาวัดจะนำมาเป็นกองทุนไว้ช่วยเหลือคนยากจนต่อไป รวมทั้งคนที่หมดตัวเพราะการทำบุญอาตมาก็ช่วย ซึ่งช่วยมาแล้วหลายคน หรือจะเรียกว่าเป็นกองทุนช่วยเหลือนักบุญยามตกอับก็น่าจะได้
        
                      ทั้งนี้ พระพะยอมพูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “การทำบุญเป็นเรื่องของศรัทธาที่ต้องบวกด้วยปัญญา อย่ายึดการทำบุญในแบบโฆษณาชวนเชื่อว่าทำมากจะได้มาก เรื่องบุญจึงเป็นเรื่องเดียวกันที่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่การทำบุญโดยยึดปริมาณมากกว่าแล้วจะได้ผลบุญมากตาม ถ้าทำอย่างนั้นน่าจะเรียกได้ว่าเอาบุญมากลบปัญญา การทำบุญยังต้องทำแบบสายกลาง คือ ต้องไม่ทำแบบทุ่มสุดตัว มีเท่าไรทำบุญหมดคงไม่ได้ เพราะชีวิตเราต้องกินต้องใช้ในเรื่องอื่นด้วย”


    • Update : 20/9/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved