หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    "ออมเงิน (Saving)" อย่างไรให้เติบโตและเบิกบานใจ

    "ออมเงิน (Saving)" อย่างไรให้เติบโตและเบิกบานใจ

    ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสมัยแห่งโอกาสและความหวัง โดยเฉพาะในเรื่องนำเงินออมไปลงทุนให้เติบโตยิ่งขึ้น คนธรรมดาทั่วไปจึงไม่ต้องทำงานเพื่อแลกเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้เงินให้ทำงานได้อีกด้วย

    น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ที่ลึกซึ้งในการจัดการเงิน จึงทำให้เงินออมที่สะสมไว้ไม่สามารถขยับขยายไปเพิ่มผลตอบแทนได้

    1. เข้าใจเรื่อง “ปัจจัยพื้นฐาน” ของสินทรัพย์แต่ละประเภท ที่เราเข้าไปลงทุน

    ทองคำเป็นตัวอย่างที่ดีของสินทรัพย์ที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจลึกซึ้ง จึงเกิดความเชื่อฝังหัวว่าทองคำมีแต่ขึ้นไม่มีลง โดยไม่ได้ดูประวัติศาสตร์ย้อนหลังให้ยาวไกลเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงปี 1980-1990 ยิ่งไม่ต้องเอ่ยอ้างถึงการรู้จักเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่นว่าอะไรจะให้ผลตอบแทนมากกว่ากัน

    ทองคำมีแนวโน้มจะขึ้น 10 ปี วิ่งลงไปเซื่องซึมอยู่ 20 ปี แล้วจึงได้เวลากลับมาฟู่ฟ่าอีกครั้ง

    หากคิดเฉลี่ยทั้งปีที่รุ่งเรืองและซึมเศร้า กินเวลารอบละ 30 ปี ผลตอบแทนของทองคำ ก็อาจใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งไม่น่าตื่นตาตื่นใจแต่ประการใด

    การที่ราคาทองคำขึ้นไปเป็นเวลา 10 ปี ให้คนเกิดความตื่นเต้น ขึ้นไปเกินระดับราคาพื้นฐานที่เป็นจริง ก่อนจะตกลงมาชดเชยแน่นิ่งเป็นเวลา 20 ปี ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจให้รายย่อยเข้ามาลงทุน เพราะถ้าค่อยๆเพิ่มอย่างเชื่องเช้าเท่ากันเป็นเวลา 30 ปี คนส่วนใหญ่ก็จะรู้ความจริงและรับไม่ได้กับอัตราเติบโตที่น้อยนิดนี้

    ทองคำในฐานะเครื่องมือลงทุนก็จะไม่มีใครสนใจ

    นักลงทุนที่ดีจะต้องอ่านปัจจัยพื้นฐานและจิตวิทยาให้กระจ่าง ไม่ใช่ติดแต่ภาพที่เห็นเฉพาะหน้า

    “กองทุนหุ้น” ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งคนส่วนใหญ่เชื่อว่าก็คงไม่แตกต่างจากการที่เราไปเลือกซื้อหุ้นเอง แถมยังดียิ่งกว่า เพราะผู้จัดการกองทุนมีความเป็นมืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญ และยังมีเวลาว่างมากกว่าเรา

    สิ่งที่ลืมนึกไปก็คือ กองทุนหุ้นก็มีข้อจำกัดมากมายในการลงทุน ไม่สามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างที่นักลงทุนธรรมดาสามารถกระทำได้ ผลตอบแทนของกองทุนจึงไม่มีความโดดเด่นแตกต่างมากนัก ส่วนใหญ่ก็จะมีผลตอบแทนใกล้เคียงกับ SET

    เมืองไทยยังไม่มีนโยบายที่เอื้ออำนวยให้เกิดกองทุนที่มีอิสระมากมายแบบในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้จะทำให้นักลงทุนบางส่วนโดนหลอกไปบ้าง แต่สำหรับนักลงทุนที่ฉลาดเฉลียว ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ก็จะได้พบเจอกับผลตอบแทนที่โดดเด่นกับผู้จัดการกองทุนแบบ Peter Lynch

    โดยเฉพาะเมื่อคนไทยส่วนใหญ่ ยังคงเสพติดการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแบบรายวัน อ่อนไหวไปกับข่าวดีข่าวร้ายโดยไม่เข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลัง ก็ยากที่กองทุนที่เน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นเติบโต (Growh Stock) จะได้รับความนิยม

    เมื่อเข้าใจเรื่องปัจจัยพื้นฐานในระดับหนึ่งแล้ว ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับเงินออมอย่างยั่งยืนได้ แน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวพอควร แต่โอกาสสำเร็จย่อมมีมากกว่า

    การลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth Stock) ตามแนวทางของ Fisher ลงทุนในหุ้นแข็งแกร่งแบบ Buffett หรือลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีแบบรอบด้านของ Peter Lynch ก็คือ การมอบเงินออมให้กับผู้บริหารธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ให้ช่วยดูแลผลกำไรแทนเรา

    การเลือกลงทุนในกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่ยิ่งใหญ่ หรือเลือกหุ้นที่มีผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่ ก็อาจให้ผลตอบแทนที่ดีเฉกเช่นเดียวกัน

    ถ้าคุณยังไม่เชื่อใจตนเองว่าจะเลือกหุ้นสุดยอดได้ ก็จงมองหาคนเก่งที่ไว้ใจได้มาช่วยดูแลเงินของคุณ

    แต่จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าเขาเก่ง จะรู้ได้ยังไงว่าเขาไม่โกง สุดท้ายก็ต้องใช้ความรู้ลึกซึ้ง

    ถ้าอยากรวย ก็ต้องหาความรู้

    2. เข้าใจเรื่องจังหวะการลงทุน โดยเฉพาะทฤษฎีของ Soros และกลยุทธ์การซื้อขายแบบจูงแพะติดมือ

    จังหวะการลงทุนของ “ทองคำ” ได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพราะครบกำหนด 10 ปี

    ทำไมต้อง 10 ปี เพราะมันจะได้ยาวนานเกินพอที่ทำให้นักลงทุนหลงลืมความเจ็บปวดของทศวรรษ 1980 ที่ทองคำได้ไหลลงอย่างรุนแรง แล้วมั่นใจว่าทองคำจะขึ้นไม่มีวันลง

    นี่คือ จังหวะขายที่ดีที่สุด โดยแม้จะมีข่าวร้ายมาผสมบ้าง คนก็ยังเชื่อมั่นและเข้าไปรับอย่างเต็มที่

    หากจะลงทุนในทองคำ อย่างน้อยต้องเริ่มตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว และค่อยมาเลิกในช่วงนี้

    เมื่อเข้าใจปัจจัยพื้นฐานของ AEC และประเทศไทยว่าจะเติบโตในช่วง 5-10 ปีนี้ ก็ยังไม่พอสำหรับการลงทุน เพราะนี่ไม่ใช่ตำราคณิตศาสตร์ หากเป็นสงครามระหว่างรายใหญ่และรายย่อย

    เราจึงต้องเข้าใจว่าในระยะสั้น จะต้องทุบหุ้นลงมาให้นักลงทุนรายย่อยเทขาย ก่อนที่จะปล่อยข่าวดีและลากหุ้นขึ้นไปสู่ปัจจัยพื้นฐานในอนาคต ตั้งแต่ 1400-2000 จุด

    บางทีหุ้นไทยอาจต้องหลุด 1000 จุด รายย่อยจึงจะกลัวและเทขาย

    แต่จะลงเมื่อไรก็ไม่รู้ และจะดีดกลับเมื่อไรก็ไม่ทราบ

    ใครที่อยากจะได้กำไรก็ต้องกล้าเสี่ยง แต่จะเสี่ยงอย่างไรให้ได้เปรียบ

    ก็ต้องใช้กลยุทธ์จูงแพะติดมือ ทะยอยซื้อเฉลี่ย เมื่อราคาลดลง 5-10 % จึงค่อยซื้อ 1 ครั้ง แล้วเมื่อราคาหุ้นเด้งขึ้นมา ก็ให้ทะยอยขายไปบ้าง เพือทำกำไรระยะสั้น

    แต่ก็ต้องเก็บหุ้นไว้ 50 % ของจำนวนเงินที่ตั้งใจจะลงทุน เพื่อว่าเมื่อหุ้นกลับไปเป็นขาขึ้น เราจะได้มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ

    สิ่งสำคัญคือ จะต้องเลือกซื้อสินทรัพย์ที่เติบโตดี ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

    หุ้นเติบโตบางตัว ที่ราคาได้ขึ้นมาแล้ว 3-5 เท่า ภายในเวลา 3-5 ปี ในทางทฤษฎี ก็อาจจะโตต่อไปได้อีก แต่ในทางปฏิบัติ มีน้อยตัวนักที่ราคาจะขึ้นไปได้ต่อ

    ส่วนหนึ่งก็คือ เมื่อบริษัทเติบโตถึงระดับหนึ่ง ก็จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารให้รองรับการเติบโตต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

    ที่สำคัญ หุ้นเติบโตเมื่อสร้างราคาขึ้นมา 3-5 เท่า ก็ย่อมทำให้ชื่อเสียงหอมหวน นักลงทุนรายย่อยก็อยากเข้ามาจับจอง จึงทำให้นักลงทุนรายใหญ่ต้องขายให้ก่อน แล้วกดราคาลงมาให้หนักหน่วง เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยคายของออกมาให้หมด ก่อนที่จะเติบโตต่อไป

    3. กระจายความเสี่ยง ตั้งแต่การมีแหล่งรายได้ที่หลากหลาย ไปจนถึงแหล่งลงทุนที่แตกต่าง

    หลักข้อแรกของการกระจายความเสี่ยง คือ อย่าทำให้ตัวเองเสี่ยงมากขึ้น เพราะกระจายเงินไปในสินทรัพย์ที่ดี แต่กำลังอยู่ในช่วงขาลง

    ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ดี แต่เมื่อได้ขึ้นมา 10 ปีแล้ว และกำลังมีแนวโน้มขาลง ก็ยังไม่ควรเข้าไปลงทุน

    ในศตวรรษที่ 21 มีทางเลือกของการออมเงินให้มากมาย ดังนั้น จงเลือกกระจายความเสี่ยง เฉพาะสินทรัพย์ที่ดี และอยู่ในช่วงขาขึ้นเท่านั้น
    ไม่จำเป็นต้องกระจายให้ครอบคลุมทุกอย่าง แต่เลือกสินทรัพย์ที่ดีและแตกต่างกัน 5-10 ชนิดก็พอแล้ว

    บางคนให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยงของเงินออม แต่ลืมนึกถึงเรื่องรายได้

    การออมเงินที่ดี คือ มีเงินสดให้น้อยที่สุด ดังนั้น เมื่อเรามีแหล่งรายได้แค่ทางเดียว เราก็ต้องเหลือเงินสดสำรองไว้มากพอ เผื่อว่ารายได้มีการสะดุดลง จะได้ถอนเงินออกมาใช้ได้

    ดังนั้น หากเรามีแหล่งรายได้ที่กระจายความเสี่ยงเพียงพอ เราก็จะสามารถนำเงินออมไปลงทุนได้เต็มที่ ไม่ต้องสำรองเงินสดไว้จำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนโดยรวมมีระดับลดลง

    สรุปแล้ว การสร้างความมั่งคั่งของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยโอกาสมากมายนั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่ลึกซึ้ง และหลากหลายรอบด้าน ตั้งแต่การวิเคราะห์คน วิเคราะห์ธุรกิจ ไปจนกระทั่งถึงจิตวิทยามวลชน


    • Update : 18/6/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved