หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วันทา-ประนมมือ : คำวัด

    วันทา-ประนมมือ : คำวัด

                   มีคนไทยจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่า การไหว้เป็นวัฒนธรรมไทย แต่แท้ที่จริงแล้ว วัฒนธรรมการไหว้เป็นวัฒนธรรมยุคโบราณของอินเดีย ซึ่งมีมาก่อนการกำเนิดพระพุทธศาสนาด้วยซ้ำ สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันและมีหลักฐานปรากฏมาถึงปัจจุบัน คือ ฮินดู เชน พราหมณ์ และซิกข์ ก็รับวัฒนธรรมการไหว้และกราบมาเช่นเดียวกัน ทุกวันนี้ยังมีการต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการวันทา หรือ ไหว้     
                       ประเทศอินเดียเป็นต้นตำรับภาษามือ ซึ่งมีนับพันท่า ภาษามือของอินเดียสามารถใช้พรรณนาอากัปกิริยาทางอารมณ์ต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งเรียกว่า "มุทรา" หรือ "วิชานาฏศาสตร์" (วิชาภาษามือ)
         
                       ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การประนมมือไหว้มาจากอินเดีย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การไหว้ไม่ใช่วัฒนธรรมซึ่งเกิดจากพุทธศาสนาแต่เดิม หากเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากอินเดียโบราณ ก่อนที่พุทธศาสนาเกิดนับพันปี
        
                       ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า วันทา หมายถึง ไหว้ หรือ นมัสการ หรือใช้ว่า วันทา ก็ได้
        
                       วันทา คือ การยกมือประนมไว้ที่หน้าอกนั้นขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมจดที่หน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว
        
                       วันทา ใช้แสดงความเคารพพระในขณะที่นั่งหรือยืนอยู่ ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น ทำอย่างเดียวกันทั้งชายและหญิง แต่ถ้าจะกราบชายนั่งคุกเขา หญิงนั่งราบ มือยกขึ้นวันทาไม้ต้องก้มศีรษะลงมารับมือ
        
                       ส่วนคำว่า “ประนมมือ” เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า กระพุ่มมือ คือ การยกมือกระพุ่มไว้ที่หน้าอก เรียกว่า พนมมือ ก็ได้ เรียกตามบาลีว่า อัญชลีกรรม (ทำอัญชลี)
        
                       ประนมมือ ใช้เรียกการกระพุ่มมือทั้งสองประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีเหลื่อมล้ำกว่ากัน หรือ การให้ห่าง ตั้งกระพุ่มมือที่ประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างชิดชายโครงไม่ให้กางออกไป
        
                       ประนมมือ เป็นการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง ทำให้ขณะสวดมนต์ หรือ ขณะฟังพระเทศน์ ฟังพระสวดมนต์ เป็นต้น และเป็นจังหวะแรกของการกราบพระ


    • Update : 11/6/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved