หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ภัย"โบท็อกซ์" เสริมสวยด้วย"ยาพิษ!"

    ภัย"โบท็อกซ์" เสริมสวยด้วย"ยาพิษ!"

            เคยได้ยินคำว่า "โบท็อกซ์" (Botox) กันบ้างไหมครับ เคยได้ยินไหมว่า มีสารที่ฉีดลบรอยเหี่ยวย่น (ตีนกา) บนใบหน้าได้? เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือเป็นเพียงคำเล่าลือ? ในบทความนี้จะมาดูกันว่า คนเราอุตริวิตถารขนาดนำเอา "สารพิษ" มาใช้ประโยชน์ ในการทำศัลยกรรมความงามกันได้อย่างไร!

    "โบท็อกซ์"คืออะไร?

            "โบท็อกซ์" เป็นชื่อทางการค้าของสารชีวภาพชนิดหนึ่งคือ "โบทูลินัม ท็อกซิน เอ" ซึ่งถ้าใครไปค้นคำว่า "โบทูลินัม" ดู ก็จะพบว่าเป็นชื่อของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งคือ "คลอสทริเดียม โบทูลินัม" ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่มนุษย์

            คำว่า "ท็อกซิน" นั้นแปลตรงตัวว่า "สารพิษ" แต่ว่าคำนี้เป็นคำกลางๆ กล่าวคือ อาจจะเป็นสารพิษต่อมนุษย์หรือไม่ก็ได้ เช่น สารพิษบางอย่างเป็นพิษต่อแมลงบางชนิด แต่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ในกรณีนี้ก็เรียกสารดังกล่าวว่า "ท็อกซิน" ได้เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า "เอ" นั้นระบุว่า ท็อกซินชนิดนี้เป็นหนึ่งในท็อกซินที่สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ผลิตได้ (มีทั้งหมด 7 ชนิด)

            ในบทความนี้ ผมจะขออนุญาตเรียกว่า "ท็อกซิน" ทับศัพท์ไป แทนที่จะใช้ว่า "สารพิษ" หรือ "ชีวพิษ" (ตามการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน) เพราะต้องการหลีกเลี่ยงความหมายที่เหลื่อมล้ำกันเล็กน้อยสำหรับคำในภาษาอังกฤษและไทย

            ขอสรุปง่ายๆ เสียตรงนี้ก่อนว่า "โบท็อกซ์" นั้นมีที่มาจากท็อกซิน ที่พบในแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษในมนุษย์นั่นเอง

            ท็อกซินชนิดนี้พบตามธรรมชาติตั้งแต่ปี 1817 โดยนายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ "จัสทินัส เคอร์เนอร์" ท็อกซินชนิดนี้มีอันตรายไม่น้อย กล่าวคือ อาจมีความรุนแรง ถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว


            เนื่องจากท็อกซินดังกล่าว จะออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาท ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง คือ "อะซีทิลโคลีน" ได้ มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่อาจหดตัวได้ ซึ่งในผู้ป่วยรายที่เสียชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากว่า กล้ามเนื้อหน้าอกซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

            บางคนอาจเริ่มสงสัยแล้วว่า ถ้าการมีท็อกซินดังกล่าวมีอันตรายเช่นนั้นแล้ว ทำไมยังจะมีคนต้องการฉีด "โบท็อกซ์" อยู่อีก หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะสงสัยว่าแล้ว "โบท็อกซ์" มาเกี่ยวข้องกับการลบรอยเหี่ยวย่นได้อย่างไร คำตอบเรื่องนี้ง่ายนิดเดียวนั่นคือ…

            การที่กล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ (หรือเป็นอัมพาตไป) ก็จะมีผลข้างเคียงสำคัญ คือ มันจะไม่สามารถทำให้เกิด "รอยเหี่ยวย่น" ได้นั่นเอง!

    จากการเยียวยาโรคสู่"ศัลยกรรมความงาม"

            ในระยะแรกของการนำ "โบท็อกซ์" มาใช้งาน จุดประสงค์หลักๆ ก็คือ เพื่อใช้สำหรับรักษาอาการกระตุกของกล้ามเนื้อตา อาการตาเหล่หรือตาเข ตลอดไปจนถึงอาการปวดตึง ผิดธรรมดาของกล้ามเนื้อคอ โดยมีการอนุญาตให้ใช้ได้ในประเทศสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2532

            แต่เรื่องของการฉีดโบท็อกซ์มาฮือฮากันจริงๆ ก็ตอนที่องค์การอาหารและยา สหรัฐฯ หรือ "เอฟดีเอ" อนุมัติให้ใช้ "โบท็อกซ์" เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมความงามในเดือนเมษายน 2545

            เพราะฉะนั้น ใครไปฉีดโบท็อกซ์กันมาก่อนหน้านั้น ก็ควรจะรับทราบกันไว้ด้วยว่า เป็นการทำศัลยกรรมแบบผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีหน่วยงานไหนในโลก รับรองความปลอดภัยให้ ส่วนของประเทศไทย องค์การอาหารและยา อย.) อนุญาตให้ใช้ได้หรือไม่ ผมยังค้นข้อมูลแบบเป็นทางการไม่พบนะครับ ถ้าใครพอทราบช่วยบอกให้ทราบด้วย


            ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งก็คือ การฉีดโบท็อกซ์นั้นจะเห็นผลได้เร็วมากคือ อาจจะเพียงไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึง 2-3 วันภายหลังจากการฉีด แต่ผลจากการฉีดจะไม่คงอยู่อย่างถาวร โดยมีรายงานว่าจะอยู่ได้ราว 3-6 เดือน (อาจนานได้ถึง 8 เดือน) หากต้องการลบรอยย่นอีก ก็ต้องฉีดซ้ำอีก โดยจะต้องเป็นการฉีดโดยตรง ที่กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ เพื่อลดความเสี่ยง จากการแพร่กระจายของท็อกซิน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน

    ผลข้างเคียง"โบท็อกซ์"

            ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่น่าจะไม่ทราบกันก็คือ ในสหรัฐฯ นั้น การฉีดโบท็อกซ์เพื่อลบรอยเหี่ยวย่นหรือรอยตีนกา สามารถทำให้กับคนไข้อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น

            หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ ศัลยกรรมความงามด้วยโบท็อกซ์ที่ทำกันอยู่นั้น จำนวนมากเป็นการทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งผมก็ยังสงสัยว่า ในหมู่คนไทย ไม่ว่าแพทย์หรือคนไข้จะมีสักกี่คนที่ทราบเรื่องนี้ เพราะเห็นโฆษณากันโครมครามจนดูเหมือนว่า ใครที่ต้องการก็น่าจะทำได้ (ถ้ามีเงินพอจ่าย!)

            นอกเหนือจากข้อควรระวังบางประการ จากการฉีดโบท็อกซ์ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์อาจจะมีผลทำให้โบท็อกซ์ออกฤทธิ์ได้ไม่ดี หรืออาจแย่ไปกว่านั้นอีกก็คือ ทำให้เกิด "รอยแผล" บริเวณตำแหน่งที่ฉีดโบท็อกซ์ได้อีกด้วย

            แต่คำเตือนที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นที่ เอฟดีเอ เตือนไว้เช่นกันก็คือ ในระหว่างการฉีดโบท็อกซ์อาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้เสมอ (มักจะเกิดกับคนไข้ราว 3-10 เปอร์เซ็นต์) จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และต้องทำการฉีดในสถานที่ซึ่งมีเครื่องมือพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้

            ผลข้างเคียงจากการฉีดโบท็อกซ์ มีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาการเล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่ปวดศีรษะ คลื่นไส้ คัน เจ็บคอ มีไข้ มีอาการคล้ายเป็นหวัด ไปจนถึงเกิดอาการเจ็บปวดและเกิดแผลช้ำบริเวณที่ฉีด เกิดอาการกล้ามเนื้อเปลือกตาหย่อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เป็นต้น

            ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด การฉีดโบท็อกซ์ที่ผิดขนาดไปมากๆ อาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้เช่นกัน

            ในเอกสารการวิจัยทางการแพทย์ก็มีระบุว่า ผู้ที่ฉีดโบท็อกซ์บ่อยๆ มีผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงอีกอย่างหนึ่ง

            โดยจะมีใบหน้าที่ "ดูคล้ายหน้ากาก" คือแลดูไม่มีอารมณ์ ความรู้สึกมากขึ้นทุกที คล้ายกับอาการที่พบในผู้ป่วยที่โดนพิษโบท็อกซ์ตามธรรมชาติบางรายที่เป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าบางส่วน เนื่องจากโบท็อกซ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายและได้มาก การควบคุมปริมาณของโบท็อกซ์ให้ถูกต้องเหมาะสม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

            นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง เวลาอ่านนิยายกำลังภายในจีนแล้ว เราอาจจะพบว่าในเนื้อเรื่องมีการ "ใช้พิษไปแก้พิษ" ซึ่งฟังดูออกจะแปลกประหลาดพิกลมากแล้ว แต่การใช้พิษแก้พิษก็จะกลับกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปเลย...

            เมื่อเทียบกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการ "ใช้พิษเสริมความงาม" กันอย่างมากมายบานตะไท ชนิดไม่กลัวตายกันเลยทีเดียว!


    • Update : 23/3/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved