หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วัดพะเนียงแตกสานโขลกแป้งขนมจีน

    วัดพะเนียงแตกสานโขลกแป้งขนมจีน
    ประเพณีโขลกแป้งขนมจีนบุญใหญ่ วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม
     

                 วัดพะเนียงแตก ตั้งอยู่เลขที่ ๙๖ หมู่ ๔ ต.มาบแค อ.เมือง จ.นครปฐม เดิมชื่อ “วัดปทุมคงคา” ส่วนที่มาของชื่อ "วัดพะเนียงแตก" เหตุมาจากที่พระครูอุตรการบดี หรือหลวงพ่อทา อดีตเจ้าอาวาส อมตะเถราจารย์ของ จ.นครปฐม ชอบเล่นพลุไฟพะเนียง วันหนึ่งในงานเทศกาลประจำปีของวัด ท่านเอามือไปปิดปากพลุไม่ให้พลุออกมาทางปาก จึงระเบิดออกทางด้านข้าง แต่ท่านไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ เลย ที่ทำเช่นนี้ ท่านต้องการให้พวกนักเลงหัวไม้เกรงขาม จะได้ปกครองและอบรมให้เป็นคนดีได้ ซึ่งก็เป็นดังนั้น ในงานเทศกาลประจำปีของวัด ไม่เคยต้องอาศัยตำรวจเลย เพราะไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นสักครั้งเดียว จนชาวบ้านให้ฉายาว่า "หลวงพ่อพะเนียงแตก" และเรียกชื่อวัดว่า "วัดพะเนียงแตก"
     
                 ทุกๆ ปีของวัดพะเนียงแตก กิจกรรมที่ปฏิบัติต่อเนื่องเกือบจะเรียกว่าเป็นประเพณีไปแล้วก็ได้คือการ “ตำ” เส้นขนมจีน เอาไว้เลี้ยงดูผู้มาร่วมงาน เส้นขนมจีนของวัดพะเนียงแตกนั้นลือเลื่องในความเหนียวนุ่ม กินกับน้ำยาหรือน้ำพริกร้อนๆ แบบโบราณเข้ากันได้ดีจริงๆ
     
                 วิธีการเริ่มตั้งแต่การนำเอาข้าวสารมาแช่น้ำแล้วโม่ทับเป็นลูกแป้ง นำลูกแป้งที่ได้มาตำๆ  แล้วนำไปกวนในกระทะใบใหญ่ แล้วก็นำกลับมากวน สลับไปเช่นนี้จนแป้งเหนียวได้ที่ จึงนำมาบีบเส้นขนมจีน เป็นอันเสร็จรับประทานได้
     
                 ตอนช่วงกวนแป้ง โม่แป้งน่ะไม่เท่าใด แต่ตอนที่ต้องตำแป้งในครกใบใหญ่นี่สิ..ต้องใช้แรงงาน  นี่คือที่มาของ “บุญ” ที่หนุ่มสาวช่วยกันลงแรงตำขนมจีนจนเป็นประเพณีสืบต่อมา ตอนค่ำของวันเดียวกันนั้น ชาวมาบแค และละแวกใกล้เคียงทุกเพศทุกวัย จะหลั่งไหลกันมาที่วัดพะเนียงแตก เพื่อช่วยกันตำแป้งขนมจีน เพื่อใช้ในการเลี้ยงพระภิกษุ-สามเณร และสาธุชนทั่วไป ตลอดงาน ๕ วัน
     
                 ประเพณีโขลกแป้งขนมจีนของ "วัดพะเนียงแตก" ยังยืนยงอยู่ตราบกระทั่งทุกวันนี้ นับตั้งแต่พระครูพัฒนกิจวิบูลย์ อดีตเจ้าอาวาสผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นผู้รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑ แต่ตอนนั้นยังทำกันไม่ใหญ่โต อาจเนื่องมาจากสาเหตุที่ในสมัยนั้นผู้คนอาจยังมีไม่มากมายเหมือนสมัยนี้
     
                 นอกจากการตำเส้นขนมจีนแล้ว อีกแรงบุญที่ชาวบ้านจะร่วมมือร่วมแรงให้กับวัดโดยมิต้องบอกกล่าว มาช่วยกันเองโดยพร้อมเพรียงคือ..การ “ผูกทอง”  วิธีการง่ายๆ แค่เอา ธูป เทียน และแผ่นทอง มาผูกรวมกันเป็นชุดๆ เพื่อมอบให้กับผู้ที่มาร่วมงานบุญใช้ไหว้พระปิดทอง ดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไร แต่เป็นการแสดงความร่วมใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาในหลวงพ่อทามาช่วยกัน เพราะปีหนึ่งๆ สาธุชนหลั่งไหลมาเที่ยวงานประจำปีนับหมื่นคน
     
                 ปัจจุบันวัดพะเนียงแตกมี พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ หรือ พระอาจารย์ทองคำ รูปนี้เป็นเหลนสืบสายมาจากหลวงพ่อทา ท่านพัฒนาวัดมาโดยตลอดด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งและเด็ดเดี่ยวมั่นคงไม่แพ้หลวงพ่อทา กิจการน้อยใหญ่ท่านสามารถฟันฝ่ามาโดยตลอด  ยึดคติทำงานเพื่อส่วนรวมไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด  ศาสนสถานในวัดได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้สวยงาม พระสงฆ์เณรน้อยก็อยู่ในระเบียบ ช่วยกันทำงานดูแลกิจการของวัด ไม่เช้าเอนเพลนอนให้เสียศรัทธาที่สาธุชนตักบาตรมา จนกระทั่งท่านได้รับความไว้วางใจรับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม  และได้รับเสมาธรรมจักรในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย
     
                 สำหรับงานประจำปีปิดทองรูปหล่อองค์หลวงพ่อทาเริ่มตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ ๑ มีนาคมถึงวันอังคารที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๕ และมีกิจกรรมพิเศษคือในวันที่ ๑ มีนาคม  จะประกอบพิธีบูชาครู ไหว้ครู และครอบครูบูรพาจารย์ ส่วนการโขลกแป้งขนมจีนนั้น จะเริ่มมีตั้งแต่คืนวันที่ ๑ ส่วนต่อเนื่องไปจนถึงเช้าวันที่ ๒ ซึ่งเป็นวันเปิดงาน จะมีผู้มาร่วมโขลกแป้งขนมจีนนับร้อยคน
     
                 วัดพะเนียงแตก ใกล้กรุงเทพฯ แค่นี้ ใช้เวลาไม่ถึง ๑ ชั่วโมงก็เดินทางถึงวัด จากกรุงเทพฯ เข้านครปฐมแล้วจับเส้นทางไปดอนตูม เดี๋ยวก็ผ่านหน้าวัดแล้ว สะดวกมาก ใครไม่เคยไปก็ลองดูไม่ผิดหวัง ใครเคยไปแล้วก็อย่าลืมอย่าพลาดไปทำบุญ อิ่มบุญ แล้วอิ่มท้องกับขนมจีนเส้นเหนียว ความประทับใจไม่ลืมของที่นี่ สอบถามเส้นทางได้ที่ โทร.๐๓๔-๒๐๓-๔๗๗ และ ๐๓๔-๒๐๓-๓๓๒


    • Update : 2/3/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved