หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ผลโพล

    ผลโพล

             เกี่ยวกับโพล ได้ความรู้จาก ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล ซึ่งอธิบายไว้ว่า การทำสำรวจโพลครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น มีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์ของชาวคริสต์ ระบุว่าการทำสำมะโน (Census) เกิดขึ้นโดย "โมเสส" ที่ภูเขาซีนาย ต่อมาชาวโรมันได้อาศัยสำมะโนเหล่านี้เพื่อจัดเก็บภาษีจากประชาชน นอกจากนี้ ยังพบว่าการทำสำมะโนแรกๆ ในปี ค.ศ.1086 ประเทศอังกฤษใช้เพื่อทำบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองที่ดิน

              จวบจนช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 การทำสำรวจทางสังคม (Social Survey) ได้เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยนักวิจัยอิสระและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาค้นหาเงื่อนไขทางสังคมและแก่นแท้ของความยากจน จากนั้นไม่นานนักหนังสือพิมพ์และพรรคการเมืองต่างๆ ในอเมริกา เริ่มทำโพลแบบง่ายๆ ขณะที่การทำวิจัยตลาดก็เริ่มต้นขึ้นด้วย กระทั่งในช่วงต้นๆ ของศตวรรษที่ 20 นักวิจัยจำนวนมากเริ่มทำสำรวจวิจัยในลักษณะเดียวกันกับระเบียบวิธีที่รู้จักในปัจจุบันนี้ จนถึงปีค.ศ.1950 การทำโพลของสำนักต่างๆ ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างแพร่หลายในสหรัฐ อเมริกาและกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรป

    คำว่า "โพล" ในหนังสือ An Introduction to Survey Research, Polling, and Data Analysis โดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ค.ศ.1996 ระบุชัดเจนว่า การทำโพลเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่ครอบคลุมการสำรวจความคิดเห็น (Opinion) ทัศนคติ (Attitude) ความเชื่อ (Belief) และพฤติกรรม (Behavior) ของประชาชนต่อปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจยังไม่เกิดขึ้นก็ได้ ทั้งการทำโพลยังหมายรวมไปถึงการสำรวจข้อเท็จจริงทางสังคม (social facts) ได้อีกด้วย

    สำหรับในประเทศไทย ครั้งที่จัดทำโพลและเผยแพร่อย่างเป็นกิจจะลักษณะได้แก่การเลือกตั้งในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2518 โดย "นิด้าโพล" สำรวจ 9 เขตเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ตามด้วยการสำรวจเพื่อทำนายผลการเลือกตั้ง 4 เมษายน 2519 ยังผลให้มีหน่วยงานและสถาบันหลายแห่งได้เข้าสู่วงการสำรวจคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นนับจากนั้น โดย "สวนดุสิตโพล" เป็นสำนักโพลต่อมาที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ขณะที่ "เอแบคโพล" และ "กรุงเทพโพล" ก่อกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียง

    ยังมีความรู้เรื่องโพลจากบทความ "ผลสำรวจจากโพลคือมติมหาชน?" โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 7 มิถุนายน 2543 ว่า คำว่า โพล มีคนบางกลุ่มหรือแม้แต่นักวิชาการบางคนให้คำแปลที่ไม่ถูกต้อง โดยแปลว่าเป็น สาธารณมติ หรือมติมหาชน หรือการสำรวจประชามติ ซึ่งเป็นการแปลที่ไม่ถูกต้อง

    เพราะผลสำรวจจากโพลเป็นข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างของกลุ่มประชากรเป้าหมาย ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนในการทำโพล ตั้งแต่การตั้งหัวข้อเรื่อง หรือประเด็นที่ทำสำรวจ การกำหนดวัตถุประสงค์ การสร้างแบบสอบถาม การกำหนดประชากรเป้าหมาย และขอบเขตในการศึกษา การกำหนดขนาดตัวอย่าง กระบวนการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประมวลผล การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความผลสำรวจเพื่อเขียนรายงานสรุป ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มีโอกาสของความคลาดเคลื่อนและอคติ (bias) เกิดขึ้นได้

    เช่น นักทำโพลอาจตั้งหัวข้อ "ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานรัฐบาลทักษิณ" การตั้งหัวข้อเช่นนี้ไม่มีความชัดเจนว่า ประชาชนในที่นี้ครอบคลุมถึงใคร ที่ใดบ้าง ผลที่ตามมาก็คือ คนที่อ่านผลสำรวจจากโพลนี้ก็จะเข้าใจคลาดเคลื่อนไปต่างๆ นานา ว่าเป็นประชาชนทั่วประเทศหรือเฉพาะพื้นที่ ผู้เขียนจึงขอเสนอการตั้งหัวข้อให้ชัดเจนว่า "ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานของรัฐบาลภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งช่วยลดทอนความคลาดเคลื่อนไปได้ค่อนข้างมาก เพราะชัดเจนว่าประชาชนในที่นี้ครอบคลุมใครและขอบเขตของการศึกษาอยู่ที่ใด


    • Update : 21/2/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved