หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ถวายพระพร-ถวายพรพระ

                     "ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน, ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์, ขอพระองค์ทรงหายจากอาการพระประชวรในเร็ววัน" ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นบางส่วนของคำลงนามถวายพระพร ที่พสกนิกรเดินทางไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวามหาราช เพื่อแสดงความจงรักภักดี และร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นพุทธมามะกะ และเป็นอัครศาสนูปถัมภก 
            
                       อย่างไรก็ตาม คำว่า "ถวายพรพระ" พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า การที่พระสงฆ์ถวายอนุโมทนาแด่พระเจ้าอยู่หัว หรือ พระราชินี ด้วยบทบาลีตอนหนึ่ง แล้วประธานสงฆ์จะถวายพระพรต่อด้วยบทว่า "อดิเรกวัสสสตัง ชีวตุ..." จบด้วย "ขอถวายพระพร" และพระสงฆ์นั้นจะถวายอนุโมทนาต่อไปจนจบ บางครั้งก็เรียกว่า "ถวายอดิเรก" ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เพราะขึ้นต้นด้วย "ติเรก..." และจบลงด้วยคำว่า "ขอถวายพระพร" จึงเรียกรวมว่า ถวายอดิเรกถวายพระพร"
           
                       ทั้งนี้ มีข้อกำหนดว่า ประธานสงฆ์ที่ถวายอดิเรกนั้น ต้องเป็นพระราชาคณะ หรือพระครูสัญญาบัตรชั้นเจ้าคณะจังหวัด พูดแบบทั่วๆ ไปว่า "ต้องเป็นพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ ถือพัดยอดแหลมเท่านั้น"
           
                       ส่วนคำว่า "ถวายพรพระ" เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า    เป็นชื่อเรียกการสวดบทสวดของพระสงฆ์อย่างหนึ่ง
           
                       ถวายพรพระ คือ การสวดของพระก่อนที่จะฉันภัตตาหารในงานพิธีบุญต่างๆ ไม่ว่าในวัดหรือในบ้านใช้บทสวดเดียวกัน ประกอบด้วยบท อิติปิ โส… บท พาหุง… และบท มะหาการุณิโก… ถ้าในงานมีการสวดมนต์ด้วยจะสวดถวายพรพระต่อจากสวดมนต์จบแล้วจึงฉัน ถ้าเป็นการทำบุญในวัด เช่นทำบุญในวันพระ จะสวดถวายพรพระอย่างเดียวแล้วฉัน หากเป็นพิธีทำบุญหลังเพลไปแล้ว จะสวดมนต์อย่างเดียว ไม่มีถวายพรพระ เพราะไม่มีการถวายภัตตาหาร
            
                       กล่าวโดยสรุป คือ ถวายพรพระ เป็นบทสวดที่ชอบพูดกันว่า “สวดพาหุง มหากา” คือ "บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ" นั่นเอง
           
                       จากคำสอนของ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ท่านเล่าว่า ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยาในนิมิต และได้ทราบว่าคาถาพาหุงมหากานี้ เป็นบทสวดที่สมเด็จพระพนรัตน์ ได้จารึกถวายต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำระหว่างอยู่ในพระบรมหาราชวัง หรือระหว่างออกศึกสงคราม เพื่อให้มีชัยต่อพระมหาอุปราชแห่งพม่า และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากกรุงหงสาวดีได้สำเร็จ


    • Update : 14/12/2554
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved