หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประเพณีรับบัว-ชาวบางพลี สัมพันธ์'มอญพระประแดง'


    "ร่วมบุญบัวหลวง หวานมะม่วงน้ำดอกไม้ ไหว้หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ ยอดปลาสลิดรสดี ผ่องปฐพีสุวรรณภูมิ" เป็นคำขวัญประจำของชาวอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ

    เมื่อเอ่ยถึงอำเภอบางพลี ทุกท่านต้องรู้จักประเพณีรับบัวที่อยู่คู่ท้องถิ่นสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจะจัดงานประเพณีรับบัวกันในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี

    ประวัติความเป็นมาเล่าขานกันมาว่า สมัยก่อนจะมีประชาชนเข้ามาอาศัยทำมาหากินกันในอำเภอบางพลี อยู่ 3 กลุ่ม คือ ชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ หรือมอญ ทุกกลุ่มที่เข้ามาอาศัยทำมาหากินในอำเภอบางพลีจะรักใคร่กลมเกลียว อยู่กันอย่างสงบเสมือนญาติพี่น้องกันมาตลอด

    ประเพณีรับบัวเกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน ระหว่างคนไทยในพื้นที่กับคนมอญพระประแดงที่เข้ามาหักร้างถางพงเพื่อทำนา เมื่อหมดฤดูการทำนาเก็บเกี่ยวข้าวกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวมอญพระ ประแดงก็จะเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม ครั้นพอถึงหน้าทำนาก็จะกลับมาใหม่อีกครั้ง

    ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่บริเวณปากอ่าวไทย น้ำจะเค็มมากการลงกล้าปลูกต้นบัวไม่สามารถที่จะปลูกได้ แต่ที่อำเภอบางพลีในอดีตน้ำในคลองจะเป็นน้ำจืดประมาณ 6-8 เดือน ตามชายเลนต้นบัวสามารถปลูกขึ้นและเจริญเติบโตได้ดี ชาวพระประแดงรู้ว่า ที่บางพลีมีดอกบัวจำนวนมาก ดังนั้นในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ทั้งหมดจะพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่บางพลีเพื่อนำไปบูชาพระและถวายพระสงฆ์ในวันออกพรรษา พร้อมทั้งถือโอกาสมานมัสการองค์หลวงพ่อโตด้วย

    แต่ก่อนระยะทางจากพระประแดงมาถึงบางพลีนับว่าไกลมาก และเพื่อไม่ให้เป็นการเหน็ดเหนื่อยในการพายเรือ ฝีพายของเรือแต่ละลำจะมีการร้องรำทำเพลงกันมาตลอดทาง บางช่วงก็จะเปลี่ยนมาเป็นการพายเรือแข่งกันเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลิน และเมื่อมาถึงอำเภอบางพลีก็เป็นเวลาใกล้พลบค่ำ ชาวพระประแดงก็จะออกมาเที่ยวพร้อมทั้งเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ที่จากกันไปนานและด้วยความมีน้ำใจต่อกันชาวพระ ประแดงก็จะนำของฝาก เช่น หมาก มะพร้าว น้ำตาล มาเป็นของฝากให้ชาวบางพลี ส่วนชาวบางพลีก็จะช่วยกันทำอาหารคาว หวาน มาเลี้ยงเพื่อเป็นการตอบแทนความมีน้ำใจของชาวพระประแดง

    หลังจากที่ทักทายถามสารทุกข์สุกดิบ และร่วมรับประทานอาหารกันแล้ว พวกหนุ่มสาวก็จะพากันออกเที่ยว ชาวบางพลีก็จะจัดเตรียมทำข้าวห่อใบบัว ข้าวต้มมัด ไว้เพื่อเป็นอาหารให้ชาวพระประแดงช่วงเดินทางกลับจนเป็นประ เพณีมาจนทุกวันนี้

    สำหรับการแห่หลวงพ่อโตทางน้ำในงานประเพณีรับบัวที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ สืบเนื่องมาจาก พ.ศ.2467 นางจั่นกับพวกชาวบางพลีได้ร่วมกันสร้างองค์ปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ใน และจัดให้มีงานเฉลิมฉลองโดยการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่องค์หลวงพ่อโตจำลอง อัญเชิญไปตามลำคลองสำโรงเพื่อให้ประชาชนได้นมัสการโดยดอกไม้ที่ใช้นมัสการคือ ดอกบัว

    ต่อมาหน่วยงานราชการได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จนกระทั่งในปีพ.ศ.2478 ได้จัดให้มีกิจกรรมการประกวดเรือสวยงาม ความคิด ตลกขบขัน และกิจกรรมวิถีชีวิตชาวบางพลีในอดีต

    สำหรับในการจัดงานประเพณีรับบัวในปี 2554 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้ร่วมกับนายนิพนธ์ เลิศศรีสุวัฒนา นายอำเภอบางพลี องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำหนดจัดงานในวันที่ 8-11 ตุลาคม 2554 โดยในงานดังกล่าวจะได้ชมการแสดงวิถีชีวิตของชาวบางพลี การแสดงการ ทำขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง พร้อมทั้ง เชิญเที่ยว ชมตลาดน้ำโบราณบางพลีที่มีอายุกว่า 150 ปี เป็นตลาดไม้ริมน้ำที่เก่าแก่ มีการประกวดหนุ่มสาวรับบัว

    ตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันที่ 11 ตุลาคม 2552 ได้ชมขบวนแห่เรือหลวงพ่อโตจำลองไปตามลำ คลองสำโรง พร้อมชมประเพณีการโยนดอกบัวเพื่อนมัสการองค์หลวงพ่อโต

    สอบถามเส้นทางได้ที่ อ.บางพลี จ.สมุทร ปราการ โทร.0-2337-3490 สำนักงาน ททท. ภาคกลาง เขต 8 โทร.0-3731-2282, 0-3731-2284 หรือ www.tat8.com


    • Update : 10/10/2554
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved