หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประวัติวัดบางแวก
    ชนิดของวัด
    วัดบางแวก เป็นวัดราษฎร์

    ที่ตั้งวัด
    วัดบางแวก ตั้งอยู่ที่ 923 แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

    อาณาเขต
    วัดบางแวก มีเนื้อที่ 16 ไร่เศษ ลักษณะที่ราบเรียบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีอาณาเขตอุปจารดังนี้
     ทิศตะวันออก  มีอาณาเขตจรดคลองบางกอกใหญ่
     ทิศตะวันตก  มีอาณาเขตจรดวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
     ทิศเหนือ         มีอาณาเขตจรดคลองกอกใหญ่
     ทิศใต้            มีอาณาเขตจรดถนนทางเดินคูหาสวรรค์

    ที่ธรณีสงฆ์
    วัดบางแวก มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 4 ไร่เศษ ในด้านทิศตะวันออกเป็นบ้านแบ่งให้ประชาชนเช่าอยู่อาศัย ในด้านทิศตะวันตกแบ่งให้วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี 12 ไร่ 3 งาน 9 ตารางวา

    ประวัติผู้สร้างวัด/ความเป็นมา
    การสร้างวัดบางแวก ไม่ทราบนามผู้สร้าง ตามประวัติสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 2285 เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในละแวกนี้ ซึ่งในคราวหนึ่งเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่คนไทยเชื้อสายจีนเรียกว่า “ เสด็จเตี่ย ” ได้ชลมารคผ่านมาทางคลองวัดบางแวกพอมาถึงหน้าวัดเรือพระที่นั่งก็เกิดอุปสรรค ไม่สามารถไปต่อได้จึงขึ้นมาชมบริเวณรอบ ๆ วัดบางแวก เข้าไปกราบพระในพระวิหาร เห็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ดำไม่สุกใสเหมือนองค์อื่น ๆ ต่อมาจึงได้สั่งให้ทำพิธีเททองทับก็ไม่สุกดังตั้งใจ จึงสั่งให้เททองทับอีก 2 ครั้ง ก็ไม่สุกใสอีก ทรงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “ พระพุทธรูปหลวงพ่อเสือ ”วัดบางแวกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 วัดบางแวกยังมีมรดกอันทรงคุณค่า ที่ได้อนุรักษ์สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน หลายอย่างคือ พระพุทธรูปและศาลาการเปรียญซึ่งมีอายุกว่า 200 ปีซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรได้อนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ วัดบางแวกแต่เดิมชื่อว่า วัดบางแหวก เหตุที่ชื่อนี้เพราะว่าสมัยก่อนนิยมการสัญจรทางน้ำจะเข้าคลองบางแวกได้ก็ต้องแหวกผักตบชวาเพราะมีมากจนปิดทางสัญจรไปมา  การศึกษา ทางวัดบางแวกได้เปิดทำการสอนพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2485 มาจนถึงปัจจุบันรวมทั้งให้สถานที่สร้างโรงเรียนพณิชยการธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2500 บัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี

    ความสัมพันธ์ระหว่างวัดบางแวกกับวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
    หลวงพ่อพระมหาระมัด  โชติปาโล อดีตเจ้าอาวาสวัดบางแวก ท่านได้เล็งเห็นคุณประโยชน์ และความสำคัญของการศึกษาโดยการเอาส่วนที่เป็นป่าช้าเก่าของทางวัดบางแวก แทนที่จะสร้างเมรุท่านเห็นว่าการสร้างเมรุนั้นได้แต่เผาคน แต่ควรจะเอาที่มาใช้ประโยชน์อื่น ๆ ดีกว่า ก็เลยเอาที่มาสร้างคน คือให้การศึกษา ให้ความรู้ โดยแบ่งที่ดินวัดให้ไป 12 ไร่ 3 งาน 1 ตารางวา รื้อกุฏิพระออกและได้ไปเทศนายังที่ต่าง ๆ แล้วน้ำปัจจัยมาสร้างอาคารโรงเรียนได้ 2 หลัง จุงมอบให้กระทรวงศึกษาธิการจนกลายเป็นวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ที่เห็นในปัจจุบันนี้และทางวิทยาลัยพณิชยการธนบุรีก็ได้จัดให้มีการบูชาคุณของหลวงพ่อพระมหาระมัด  โชติปาโล และวัดโดยการจัดให้มีการทอดกฐินที่วัดบางแวกเป็นประจำทุกปี จนบูรณะวัดบางแวกได้อย่างที่เห็นมาทุกวันนี้ ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุต่าง ๆ

    1. อุโบสถ
    อุโบสถวัดบางแวก เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยกว้าง 8 เมตร ยาว 22 เมตร หลังคาลด 3 ชั้น หน้าบันเป็นไม้สักแกะเป็นลายนารายณ์ทรงครุฑ ประดับกระจกลงลักปิดทองทั้ง 2 ด้าน (ด้านหน้า และ ด้านหลัง) ซุ้มประตู 4 ซุ้ม หน้าต่าง 10 ซุ้ม ปิดกระจกลงลักปิดทองทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ กำแพงแก้ว 3 ด้าน (ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศใต้) สูง 12.50 เมตร ยาว 112 เมตร ประตูกำแพงแก้วด้านหน้าอุโบสถสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา 3 มุข ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุด้วยกระเบื้องเคลือบสี ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยเนื้อโลหะลงลักปิดทอง (สร้าง พ.ศ.2517) หน้าตักกว้าง 69 นิ้ว ส่วนสูง 187 นิ้ว พร้อมพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร กว้าง 14 นิ้ว สูง 59 นิ้ว ปางยืนประนมมือ ด้านหลังอุโบสถสร้างเป็นวิหารสลักสกัด ลักษณะแบบทรงไทยประยุกต์ชั้นเดียว คอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 9 เมตร ยาว 22.50 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ดังนี้

     1. พระนาคปรกศิลาแลง ปางสมาธิสมัยลพบุรี หน้าตักกว้าง 33 นิ้ว ส่วนสูง 44 นิ้ว
     2. พระปางสมาธิ ศิลาแลงปิดทองสมัยอยุธยา หน้าตักกว้าง 72 นิ้ว ส่วนสูง 101นิ้ว ได้ทำการซ่อมแซมส่วนที่แตกหักจึงทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
     3. พระโลหะเนื้อสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 26 นิ้ว ส่วนสูง 35 นิ้ว
     4. พระประธานปางมารวิชัยปูนปั้น สมัยอยุธยา หน้าตักกว้าง 58 นิ้ว ส่วนสูง 87 นิ้ว (เคยเป็นพระประธานในอุโบสถหลังเก่ามีการสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย)
     5. พระประธานปางมารวิชัย โลหะสำริดลงลักปิดทองสมัยรัตนโกสินทร์ พระเกศถอดได้ หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว ส่วนสูง 43 นิ้ว (เคยเป็นพระประธานประจำศาลาการเปรียญ)
     6. พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสำริด ปิดทองปางมารวิชัย สมัยรัตนโกสินทร์ พระเกตุถอดได้หน้าตักกว้าง 121 นิ้ว สูง 43 นิ้ว

    2. วิหาร
    พระวิหารหลวงพ่อเสือ เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย กว้าง 10.77 เมตร ยาว 8.86 เมตร หลังคาลด 1 ชั้น หน้าบันเป็นลายเทพพนมทั้ง 2 บัน ด้านหน้าและด้านหลังมีประตูเข้าออก 1 บาน อีกบานต่อเนื่องกับทางเข้าศาลาการเปรียญ วิหารนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย เนื้อโลหะสำริด (ปางเชียงแสนสิงห์ 3) พระเกศถอดออกได้สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว สูง 85 นิ้ว มีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรทรงนั่งพับเพียบประนมมือหน้าตักกว้าง 15 นิ้ว สูง 40 นิ้ว  พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้เคยมาบูรณปฏิสังขรณ์ เททองหลายครั้งอีกมาถวายสักการะเป็นประจำและทรงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธรูปหลวงพ่อเสือ”

    3. ศาลาการเปรียญ
     ศาลาการเปรียญ เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยกว้าง 10.77 เมตร ยาว 17.75 เมตร หลังคาลด 2 ชั้น หน้าบันเป็นลายแกะสลักทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีประตูเข้าออก 4 บาน ฝามีบานหน้าต่าง 32 บาน พื้นไม้สักทอง  ด้านบนมีรูปภาพจิตรกรรมฝาผนังทศชาติ เป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในมีบุษบกสูง 12 เมตร ซึ่งกรมศิลปากรได้อนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ

    4. กุฏิสงฆ์
     กุฏิเอนกประสงค์ 1 หลัง เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 1.6 เมตร ยาว 18 เมตร 2 ชั้น (ด้านบนเป็นห้องพักสงฆ์ ด้านล่างเป็นที่สอนหนังสือ และที่ฉันภัตตาหาร อีกทั้งเป็นที่บำเพ็ญกุศลต่าง ๆ  กุฏิสงฆ์ 4 หลังเป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 6.50 เมตร ยาว 9 เมตร

    5. หอระฆัง หอกลอง ธูปทอง
     เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยปีระยุกต์ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นลวดลายทรงประยุกต์ กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร
    -ลำดับเจ้าอาวาส
    นับตั้งแต่เริ่มสร้างวัดบางแวก ประมาณกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึง พ.ศ. 2551 ประมาณ 266 ปี วัดบางแวกมีเจ้าอาวาสปกครองวัดที่ปรากฎนาม ประมาณ ๗ รูป คือ
    1. พระอธิการสมใจ (ไม่ทราบประวัติ)
    2. พระอธิการทรง (ไม่ทราบประวัติ)
    3. พระมหาหนู (ไม่ทราบประวัติ)
    4.  พระมหาระมัด  โชติปาโล เป็นชาวจังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2459 ท่านอุปสมบทอยู่วัดราชโอรสาราม ต่อมาท่านสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค อีกเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักเรียน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางแวก ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางแวก ท่านเป็นพระธรรมกถึกเอกเทศนาโวหาร อีกทั้งเทศนามหาชาติอบรมประชาชน เป็นเจ้าคณะแขวงคูหาสวรรค์ เขต 2 จัดระเบียบการปกครองคณะภายในแขวงและวัดที่ปกครองอยู่ เป็นพระนักพัฒนาตัวอย่างได้สร้างโรงเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ.2485 จนถึง พ.ศ.2536
    5. พระครูโสภณธีรธรรม (เสนาะ ธมฺมรกฺขิโต) เป็นชาวจังหวัดอ่างทอง ปกครองวัดมาตั้งแต่ พ.ศ.2536 จนถึง 19 กันยายน พ.ศ.2547
    6. พระธรรมศีลาจารย์ เป็นชาวจังหวัดกรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเขตภาษีเจริญ และได้มาเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางแวก ตั้งแต่ 19 กันยายน พ.ศ.2547 จนถึง 9 กรกฎาคม พ.ศ.2548
    7. พระครูธีรธรรมานันท์ (ญาณกฤษฏิ์ ตั้งใจพัฒนากุล) เป็นชาววัดบางแวก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปกครองวัดบางแวกตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน วัดบางแวกขณะนี้มีพระภิกษุจำพรรษา 10 รูป ศิษย์วัด 2 คน


    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved