หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ของทุกปี

    วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ของทุกปี

         วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ" เหตุเพราะเป็นวันที่สหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือสหกรณ์ "วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" ที่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลกได้รับการจดทะเบียนจากกรมหมื่นพิทยาลงกรณ(นายทะเบียนสหกรณ์ในขณะนั้น) เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรกของไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลสหกรณ์แห่งแรกในสยามประเทศ

         สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมันนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "

         สหกรณ์ถือกำเนิดมาจากปัญหาในปลายสมัยรัฐกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นอาชีพหลักของประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย คือการทำนา เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น นับเนื่องตังแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ทำให้ระบบ "เพื่อเลี้ยงตัวเองในชนบท" มาสู่ระบบเศรษฐกิจ "เพื่อการค้า" ความต้องการเงินทุนเพื่อขยายการผลิตและการครองชีพเพิ่มมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ 85 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกรอยู่ในฐานะยากจน ขาดแคลนเงินทุนต้องกู้หนี้ยืมสินจากพ่อค้านายทุน "คหบดี" ซึ่งมักถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ยืมเหล่านี้ทุกวิถีทาง เช่น การกำหนดดอกเบี้ยในอัตราสูง การทำสัญญาส่งใช้เป็นข้าวเมื่อเก็บเกี่ยงแล้ว ในเรื่องช่างตวงวัดก็กำหนดเอาตามพอใจ ทำให้ชาวไร่ชาวนาเสียเปรียบเป็นอย่างมาก

         ระยะแรก การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนขึ้นใน ปีพ.ศ.2459 การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกจึงดำเนินไปอย่างช้าๆ จนถึงสิ้น ปีพ.ศ.2470 ซึ่งเป็นเวลา 12 ปี นับตั้งแต่เริ่มนำสหกรณ์เข้ามาในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทนี้ขึ้นมาเพียง 81 สมาคมเท่านั้น ซึ่งจัดตั้งอยู่ใน 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรีและอยุธยา โดยมีเงินทุนให้กู้ยืมเพียง 300,000 บาทเศษ เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสหกรณ์เป็นสิ่งที่สามารถจัดทำได้สำเร็จ จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 ขึ้น และจัดหาทุนมาให้กู้ยืมมากขึ้น หลังจากนั้น 5 ปี ได้มีการขยายสาขาออกไปได้อีก 7 จังหวัด เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 การสหกรณ์จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทอื่นๆ ขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพยร์ สหกรณ์ที่ดิน ร้านสหกรณ์ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขยายงานสหกรณ์จากระดับกรมขึ้นมาเป็นระดับกระทรวง เมื่อปี พ.ศ.2495 ระยะอยู่ตัว หลังจากปี พ.ศ.2497 อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันกระทรวงสก
         หรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
         การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2515 ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงานอิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2515
         ผลการดำเนินงานทางสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้รับความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมานเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันสหกรณ์ ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัวของสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของประเทศโดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชานให้ดีขึ้น
         รัฐและขบวนการสหกรณ์ไทยได้ร่วมจิตใจจัดงาน "วันสหกรณ์แห่งชาติ" ขึ้นเป็นประจำทุกปีไม่ว่าจะศก.ปีใด จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาคุณขององค์ผู้ให้กำเนิด"สหกรณ์" พระองค์ท่านไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียนเท่านั้น แต่เป็น "พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย" ยังเป็นผู้ปูพื้นฐานและทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่และจัดตั้งขยายกิจการการสร้างความผาสุกแก่ประชาชนเพื่อการกินดีอยู่ดี เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ

    การจัดรูปองค์การของสหกรณ์
    - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ เพื่อดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมทางสังคม
    - สหกรณ์ไม่ใช้บริษัทเอกชน เพื่อดำเนินธุรกิจแสวงหาผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้น
    - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ ไม่เป็นกระทรวงทะบวง และกรมต่าง ๆ
    - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การ เพื่อสร้างสีสันทางการเมือง ซึ่งไม่ได้มอบบริการที่บริสุทธ์เหมาะสมดั่งที่สมาชิกต้องการ
         " สหกรณ์ " ตามความหมายขององค์การสัมพันธ์ภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ คือ องค์การอิสระของบุคคลซึ่งร่วมกันด้วย ความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และจุดมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยการดำเนินวิสาหกิจที่ พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกันบริหารงาน และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย

    หลักการสหกรณ์ 7 ประการ
      1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ
      2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
      3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
      4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
      5.การศึกษา ฝึกอบรม และข่าวสาร
      6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
      7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน

    หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
         สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือการออกกฎหมาย นโยบาย การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี

    ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
         สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์ เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each for all and All for each)

    ปรัชญาสหกรณ์
         การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ความรับผิดชอบร่วมกัน  ยึดหลักประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  ความเป็นธรรม  การรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการพึ่งพาอาศัยกัน

    จริยธรรมสหกรณ์
         ความซื่อสัตย์  โปร่งใส  ความรับผิดชอบต่อสังคม  การเอาใจใส่ผู้ด้อยกว่า

    ขอบคุณข้อมูลจาก
    ru.ac.th
    rid.go.th


    • Update : 3/3/2557
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved