หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    บทความธรรมะ:จำวัดผิดกันกับคำว่า นอน

    บทความธรรมะ:จำวัดผิดกันกับคำว่า นอน

    หลวงปู่ขาว เล่าถึงคำสอนของ หลวงปู่มั่น
    เกี่ยวกับการหลับนอนของพระ ต่อไปดังนี้

    ท่านควรขบคิดคำว่า จำวัด กับคำว่า นอน ซึ่งเป็นคำทั่วๆ ไป
    เทียบกันดูจะเห็นว่าผิดกันและมีความหมายต่างกันอยู่มาก
    ระหว่างคำว่า จำวัดของศากยบุตร กับคำว่า นอนของคนและสัตว์ทั่วไป

    ดังนั้นความรู้สึกของพระผู้เป็นศากยบุตรที่จะปลงใจจำวัดแต่ละครั้ง
    จึงควรมีความสำคัญติดตัวในขณะนั้นและเวลาอื่นๆ
    จึงจะสมชื่อว่า ผู้ประคองสติ

    ผู้มีปัญญา คิดอ่านไตร่ตรองในทุกกรณี
    ไม่สักว่าคิด สักว่าพูด สักว่าทำ สักว่านอน สักว่าตื่น
    สักว่าฉัน สักว่าเดิน สักว่านั่ง

    สัก เป็นอาการปล่อยตัวเกินเพศเกินภูมิของศากยบุตรที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง

    ในวงปฏิบัติโดยมากมักเข้าใจกันว่า
    พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายนิพพานไปแล้ว สาปสูญไปแล้ว
    ไม่มีความหมายอะไรเกี่ยวกับท่านและตนเองเสียแล้ว
    ก็พระธรรมอันเป็นฝ่ายเหตุที่สอนกันให้ปฏิบัติอยู่เวลานี้
    เป็นธรรมของท่านผู้ใดขุดค้นขึ้นมาให้ได้เห็นและได้ปฏิบัติตามเล่า?

    ความจริง พุทธะ และ สังฆะ
    ก็คือ ดวงใจบริสุทธิ์ที่พ้นวิสัยแห่งความตาย
    และความสาปสูญอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
    จะให้ตายให้สาปสูญให้หมดความหมายไปได้อย่างไร
    เมื่อธรรมชาตินั้นมิได้เป็นไปกับสมมติ
    มิได้อยู่อำนาจแห่งความตาย
    มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งความสาปสูญ
    มิได้อยู่ในอำนาจแห่งการหมดความหมายใดๆ

    พุทธะ จึงคือ พุทธะอยู่โดยดี
    ธัมมะ จึงคือธัมมะอยู่โดยดี
    และสังฆะ จึงคือสังฆะอยู่โดยดี
    มิได้สั่นสะเทือนไปกับความสำคัญใดๆแห่งสมมติ
    ที่เสกสรรทำลายให้เป็นไปตามอำนาจของตน

    ฉะนั้นการปฏิบัติด้วย ธัมมานุธัมมะ
    จึงเป็นเหมือนการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    อยู่ตลอดเวลาที่มีธัมมานุธัมมะ ภายในใจ

    เพราะการรู้พุทธะ ธัมมะ สังฆะ
    โดยหลักธรรมชาติจำต้องรู้ขึ้นที่ใจ
    ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งธรรมอย่างเหมาะสมสุดส่วน
    ไม่มีภาชนะใดยิ่งไปกว่า ดังนี้


    • Update : 2/9/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved