หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CA003 4,599.00  1
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ควันบุหรี่ ภัยเงียบสังคมยุคไอที

    ควันบุหรี่ ภัยเงียบสังคมยุคไอที

     วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. ปี 2556 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกไว้ว่า "Ban Tobacco Advertising, Promotion And Sponsorship " ซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้คำขวัญภาษาไทยว่า "ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต"

              มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ร่วมรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก โดยปีนี้มูลนิธิรณรงค์ชูประเด็น "บุหรี่=ยาเสพติด" เพื่อนำเสนอข้อมูลความรุ่นแรงของการเสพติดบุหรี่ที่ร้ายแรงเทียบเท่ากับเฮโรอีน นำความสูญเสียมาสู่ผู้เสพ คนรอบข้างและสังคม

              ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์อาชญากรรมและยุติธรรมศึกษาประเทศสหราชอาณาจักร ได้ประเมินและจัดอันดับสารเสพติดชนิดต่างๆ 20 ชนิด ใน 3 ลักษณะ คือ อันตรายต่อร่างกาย ความรุ่นแรงของการเสพติด และผลกระทบของการใช้สารนั้นต่อสังคม ในภาพรวมผลการวิเคราะห์พบว่า ยาเสพติดที่อันตรายที่สุด ได้แก่ อันดับ 1 เฮโรอีน อันดับ 2 โคเคน อันดับ 8 แอมเฟตามีนหรือยาบ้า และบุหรี่อยู่ในอันดับที่ 9 ดังนั้น บุหรี่จึงเป็นยาเสพที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ที่ร้ายแรงที่สุด

              นอกจากนี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่า การติดนิโคตินหรือติด บุหรี่เป็นปัญหาวิกฤตการณ์ในวงการสาธารณสุข บุหรี่ คือ สิ่งเสพติดที่ถือว่าเป็นด่านแรกที่นำไปสู่ยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่นได้เช่น สุรา โคเคน เฮโรอีน ยาอี ฯลฯ องค์การอาหารและยา สหรัฐ อเมริกา จึงมีความพยายามที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมบุหรี่เสียใหม่ โดยจะจัดให้เป็นยาเสพติด (Tobacco As Drug )องค์การอนามัยโลกจัดให้การสูบบุหรี่เป็นโรคชนิดหนึ่งและจัดให้บุหรี่ คือ ยาเสพติด เนื่องจาก"ยาเสพติด" ในความหมายขององค์การอนามัยโลก หมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไป โดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจ

              ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2554 มีคนไทยที่สูบบุหรี่อยู่จำนวน 11.5 ล้านคน หรือร้อยละ 21.4 ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยผู้ชายสูบบุหรี่ร้อยละ 41.7 ส่วนผู้หญิงสูบบุหรี่เพียงร้อยละ 2.1 และจะเห็นว่าแนวโน้มการสูบบุหรี่ของคนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

              และที่น่าเป็นห่วงอีกสิ่งหนึ่งคือ คนไทยเริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยลง กล่าวคือในปี 2544 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่เท่ากับ 18.5 ปี ในขณะที่ปี 2555 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ลดลงเป็น 17.9 ปี นั่นหมายความว่าการสูบบุหรี่ของคนไทยมีแนวโน้มการเริ่มสูบตั้งแต่วัยเด็กมีมากขึ้น

              โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก มีข้อมูลสำคัญว่า ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบปัจจุบันทั้งชนิดมีควันและไม่มีควัน ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือ ร้อยละ 27.2 ในปี 2552 และร้อยละ 26.9 ในปี 2554 ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควันที่เคยเลิกสูบบุหรี่ในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมา ลดลงจากร้อยละ 49.8 ปี 2552 และร้อยละ 36.7 ปี 2554 ทั้งๆ ที่การได้รับคำแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่โดยบุคลากรสุขภาพ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 51.9 ปี 2552 และร้อยละ 55.8 ปี 2554

              ผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันคิดเลิกบุหรี่เพราะฉลากคำเตือน 4 สี บนซองบุหรี่ ลดลงจากร้อยละ 67 ในปี 2552 ร้อยละ 62.6 ปี 2554 (8 ใน 10 ภาพคำเตือนใช้มานานกว่า 5 ปี) อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองใน บ้านเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.2 ปี 2552 ร้อยละ 36 ปี 2554

              ประชากรเคยสังเกตเห็นกลยุทธ์การตลาดของอุตสาหกรรมยาสูบรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.8 ปี 2552 เป็นร้อยละ 25.7 ปี 2554 ประชากรเคยสังเกตเห็นโฆษณาบุหรี่ ณ ร้านค้าที่ขายบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ปี 2552 เป็นร้อยละ 18.2 ปี 2554 ซึ่ง ร้อยละ 10 ของผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันชนิดบุหรี่โรงงาน ซื้อบุหรี่ราคาถูกยี่ห้อใหม่ ซึ่งผลิตโดยโรงงานยาสูบภายหลังการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ซิกาแรต ปี 2552 และผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันชนิดบุหรี่โรงงานที่มี อายุ 15-17 ปี ซื้อบุหรี่ครั้งสุดท้ายแบบแบ่งมวนขาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.3 ปี 2552 เป็นร้อยละ 88.3 ปี 2554


    • Update : 31/5/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved