หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CA001 1,999.00  1
CC018 .00  1
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เปิดประวัติ'หลวงพ่อทรัพย์' สุดยอดพระเกจิแห่งบางระกำ

    เปิดประวัติ'หลวงพ่อทรัพย์' สุดยอดพระเกจิแห่งบางระกำ

         สืบเนื่องจากการมีพระราชดำริให้เรียกชื่ออำเภอสอดคล้องตามตำบลที่ตั้งอยู่ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2460 ลักษณะของที่ว่าการอำเภอเป็น "เรือนแพ" จึงนิยมเรียกว่า "แพหลวง" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมเหนือ "ศาลเจ้าพ่อดาบทอง" ในปัจจุบัน

    เมื่อถึงฤดูน้ำหลากเอ่อล้นตลิ่งทำให้การสัญจรติดต่อลำบากยากยิ่ง จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่เนินบ้านท่าโก ซึ่งเดิมประดิษฐาน "หลวงพ่ออินทร์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ศิลปะสุโขทัย ที่หลวงพ่อผัน เกิดดี วัดกรับพวง ซึ่งท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2405 มรณภาพ พ.ศ.2480 อายุ 75 ปี ศิษย์หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นเดียวกับ หลวงพ่อขำ วัดปลักไม้ดำ

    หลวงพ่อผันนิมิตเห็นและพระอินทร์บอกตำแหน่งในสมาธิ จึงล่องเรือไปพบที่วัดร้างแถบศรีสัชนาลัย สุโขทัยและอัญเชิญมาซ่อมบูรณะจนงดงาม และสร้างเหรียญหล่อโบราณ (หูขวาง) หลวงพ่ออินทร์ ในปี พ.ศ.2469-2470 มีพุทธ คุณเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ด้านแคล้วคลาดคงกระพันเป็นยิ่งนัก ขนาดปลาปักเป้าซึ่งมีฟันคมกริบดุจมีดโกนยังกัดไม่เข้าจนโจษจันไปทั่วคุ้งน้ำ แล้วจึงย้ายมาอยู่วัดท่าโก (ในปี พ.ศ.2475) คนกรับ พวงยังบูชาแท่นปูนฐานหลวงพ่ออินทร์มาจน ทุกวันนี้

    ในปี พ.ศ.2474 หลวงพิณพลราษฎร์ นายอำเภอในสมัยนั้น จึงย้ายที่ว่าการอำเภอบางระกำ กลับมาตั้งทางฝั่งขวาของแม่น้ำยม ใกล้ๆ กับ วัดบางระกำ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดสุนทรประดิษฐ์ จนปัจจุบัน

    ในสมัย พระครูพุทธิสุนทร (หรุ่น ติสสโร) อดีตเจ้าคณะแขวงชุมแสงสงคราม พ.ศ.2454-2500 พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อลำยอง วัดสุนทรประดิษฐ์ พระเกจิอาจารย์ ลำดับที่ 58 ในพิธีมหาพุทธาภิเษก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม ธนบุรี รุ่น 100 ปี วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 ในราชทินนาม พระครูประ ภาสธรรมาภรณ์ หรือ พระมงคลสุธี (หลวงปู่แขก) ในปัจจุบัน และเป็นต้นกำเนิด สกุลพระเครื่องที่มีพุทธคุณเข้มขลังดีเด่นทางเมตตามหานิยมและมหาอำนาจ แคล้ว คลาดปลอดภัยดีนักแล คือพระฝักไม้ดำ พระฝักไม้ขาว หรือ พระสิงห์ป้อนเหยื่อ ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเขยชาวพิษณุโลก สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม คล้องติดคอเพียงองค์เดียว

    ชุมชนโบราณชุมแสง ปรากฏแหล่งศิลปกรรมพบเศษเครื่องถ้วยประเภทธรรมดา ประเภทแกร่งและเคลือบทั้งไทยและจีนกระจายอยู่ทั่วไป สำรวจพบวัดร้างโบราณขนาดใหญ่ หลายแหล่ง อาทิ วัดปากคลอง วัดบางบาล วัดบ้านดง โคกวัด ซึ่งพบใบเสมาขนาดใหญ่ เศษชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรม มูลดิน เครื่องถ้วยสังคโลก พระเครื่อง ถูกไถจนสิ้นสภาพในปัจจุบัน

    ในราวปี พ.ศ.2485 ประเทศ ไทยประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย คือน้ำท่วมครั้งใหญ่ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ แม้กรุงเทพมหานครก็ถูกน้ำท่วมใหญ่เช่นกัน พื้นที่อำเภอบางระกำ และชุมชนโบราณชุมแสงสงครามก็ถูกน้ำท่วมหนักกว่าปกติที่แม่น้ำยมจะหลากเอ่อล้นตลิ่งเป็นประจำทุกปี กระแสน้ำยมพัดทลายสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะโบราณสถานวัตถุพังทลายไปกับกระแสน้ำไปหมด โดยเฉพาะเจดีย์องค์ใหญ่ ปากคลองจนเหลือแต่ซากเนินมูลดิน ชาวบ้านจึงได้นำเศษอิฐและสิ่งต่างๆ ของโบราณวัตถุที่กระจายหลงเหลืออยู่นำมาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงพบกรุพระเครื่อง ที่ซากองค์พระเจดีย์โบราณ พบเศษใบเสมา พระบูชาศิลปะอยุธยา สามขา ขนาด 3 นิ้ว 5 นิ้ว และพระพิมพ์สนิมแดง บรรจุอยู่ในไห พร้อมเครื่องถ้วยลายครามและสังคโลก จำนวนหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วสนิมแดง พบ 2 พิมพ์ คือ พิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ด้วยเหตุที่เป็นชุมชนโบราณเป็นที่ผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์และที่พักทัพของสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ตามมุขปาฐะดังกล่าว จึงนิยมเรียกชื่อพระพิมพ์กรุชุมแสงสงครามนี้ว่า พระยอดขุนพล มาจนทุกวันนี้

    ธนบัตรขวัญถุงมหาโภคทรัพย์หลวงพ่อทรัพย์


    สำหรับประวัติพระเกจิดังแห่งบางระกำ "หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา" วัดปลักแรต อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก สกุลเดิม ทองเหนือเนตร ภูมิลำเนาเดิมของบรรพชนเป็นคนจังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อปีพ.ศ.2421 ปีเดียวกันกับ ครูบาศรีวิชัย วัดบ้างปาง ลำพูน (พ.ศ.2421-2481) และ หลวง พ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐเพชรบุรี (พ.ศ.2421-2517)

    ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของ นายแจ้ง-นางอินทร์ ทองเหนือเนตร ที่บ้านกำแพงดิน ชุมชนใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม บริเวณที่แม่น้ำยม กับแม่น้ำน่านไหลมาใกล้กันที่สุดของแม่น้ำสองสาย อ.ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยมาแต่เยาว์วัย

    จนอายุได้ 20 ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดพลับรัตนราชบำรุงธรรม หรือนิยมเรียกว่า วัดพลับ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งสร้างมานับแต่ปี พ.ศ.2173 ซึ่งภายหลังโอนไปขึ้นกับตำบลกำแพงดิน ในปี พ.ศ.2480 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดกำแพงดิน และโอนไปขึ้นกับอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตรจนปัจจุบัน

    แต่เดิมนั้น "สามง่าม" เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม มีคลองสำคัญชื่อ คลองสามง่าม ไหลลงสู่แม่น้ำยม มองเห็นเป็นสามแฉก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "สามง่าม" และทางราชการจัดตั้งเป็นตำบลสามง่ามขึ้นอยู่อำเภอท่าหลวง (อำเภอเมืองพิจิตร) ปีพ.ศ.2481 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอสามง่าม ปี พ.ศ.2441 มีพระครูชุมแสงสงครามเขต (อู๋) เจ้าคณะแขวงชุมแสงสงคราม (ปัจจุบันคือตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง พระอุปัชฌาย์และเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับ (วัดกำแพงดิน) ปีพ.ศ.2400-2425 แล้วจึงมาเป็นเจ้าคณะแขวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระสมุห์สว่าง เป็นอนุสาวนาจารย์

    ได้ฉายา "พรหมปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ดุจพรหม หรือผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ภายหลังนิยมเขียนฉายาหลวงพ่อเป็นภาษาไทยว่า "พรหมปัญญา" มาจนปัจจุบัน


    • Update : 25/9/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved