หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    มจร.ติวเข้มภาษารับประชาคมอาเซียน

    มจร.ติวเข้มภาษารับประชาคมอาเซียน

    พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมจร.ย้ำภาษาคือกุญแจในการเชื่อมประชาคมอาเซียน ตั้งสถาบันภาษาติวเข้มนิสิตบุคลากรรองรับ

                  ๙สิงหาคม๒๕๕๕ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน จัดงานราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง "บทบาทของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประชาคมอาเซียน"ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีราชบัณฑิต ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคคลทั่วไป และนิสิตของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมรับฟังกว่า ๓๐๐ รูป/คน

                   ภายในงานดังกล่าว ดร.พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)  เปิดเผยผ่านทางเฟซบุ๊คนาม "Hansa Dhammahaso" ความว่า พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับนิมนต์ ให้ปาฐกถา โดยมีหลักคิดสำคัญที่ได้นำเสนอ คือ "Connectivity" แม้ประชาคมอาเซียนเป็นแหล่งเชื่อมโยงทั้งด้านตลาด และการผลิตฐานเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเชื่อมเฉพาะเรื่องของทุน การเงิน และเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่มีการเชื่อมโยมทั้งด้านวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา ประเพณี และการศึกษา
       
                      การที่มหาวิทยาลัยสงฆ์จะอยู่รอดได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง "ตกปลานอกบ้าน ประสานสิบทิศ ผูกมิตรทั่วหล้า บริหารและจิตและปัญญา พัฒนาพระพุทธศาสนาสู่สังคมอาเซียน"
       
       
                      ดร.พระมหาหรรษา ได้รายงานต่อว่า อธิการบดีมจร.กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวแปรสำคัญที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างแนวทางดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาอาเซียนไม่จะเป็นภาษาบาฮาซา ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเวียดนาม ภาษากัมพูชา ยิ่งกว่านั้น ภาษาที่จำเป็นจะต้องพัฒนาเพื่อใช้ภาษากลางในการสื่อสารคือ "ภาษาอังกฤษ"
       
                      การที่มหาวิทยาลัยจัดตั้งสถาบันภาษา มหาจุฬาฯ ขึ้นมา เพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และนิสิต เพราะการเข้าใจภาษาเหล่านี้ จะทำให้มหาจุฬาฯ มีบทบาทการนำด้านการพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์การการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย


    • Update : 10/8/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved