หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    มาดูไทยในมาเลเซีย

    มาดูไทยในมาเลเซีย

            เกี่ยวกับคนไทยในฐานะพลเมืองมาเลเซีย สุดารัตน์ แสงศรี อาจารย์ประจำสาขาภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศึกษาเรื่องดังกล่าว สรุปความได้ว่า คนไทยในมาเลเซียอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่แถบตอนเหนือของประเทศมาช้านาน เป็นชนกลุ่มหนึ่งในรัฐไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ทางตอนเหนือของรัฐเประ และจำนวนหนึ่งอาศัยในปีนัง

            โดยบางส่วนผสมกลมกลืนกับชนพื้นเมือง ด้วยภายหลังสยามเสียดินแดนส่วนนี้แก่อังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวไทยกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่อยู่ในประเทศมาเลเซียจนถึงปัจจุบัน โดยชาวไทยในหัวเมืองมลายูทั้ง 4 เมือง ตั้งหลักปักฐานนับตั้งแต่อังกฤษยึดครองมลายูจวบจนได้รับเอกราชเป็นมาเลเซียปัจจุบัน ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมไทยไว้ได้อย่างดี รวมถึงภาษา ความเชื่อและศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกับชาวมลายู

            ก่อนมาเลเซียได้รับเอกราชชาวไทยเหล่านั้นมีหลักฐานแสดงสถานภาพความเป็นชนกลุ่มน้อยคือสูติบัตรแสดงความเป็นไทย เชื้อสายไทย ทะเบียนสำมะโนครัวแสดงสัญชาติมาเลเซีย เริ่มทำบัตรประชาชนตั้งแต่อายุ 12 ปี และทำใหม่อีกครั้งเมื่ออายุ 18 ปี

             กระทั่งถึงยุคที่มาเลเซียได้รับเอกราชแล้ว ชาวไทยมีหลักฐานการแสดงสถานภาพเหมือนเดิม แต่ไม่มีการทำทะเบียนสำมะโนครัวแสดงสัญชาติมาเลเซีย หากมีบัตรประชาชนแสดงสัญชาติมาเล เซียแทน

             นอกจากนี้ชาวไทยมีที่ดินเป็นของตนเองได้ มีสิทธิ์ขายที่ดินให้แก่ผู้อื่นได้ แต่ผู้ซื้อต้องเป็นชาวมาเลเซีย ชาวไทยด้วยกันไม่มีสิทธิ์ซื้อขายที่ดินไม่ว่าเป็นของชาวไทยหรือของชาวมาเลเซีย และเจ้าของที่ดินต้องมีบัตรแสดงตัวเป็นเกษตรกรชาวไทย

            สำหรับการขอแก้ไขให้มีการระบุชื่อของกลุ่มชาติ พันธุ์ชาวไทยในแบบฟอร์มการขอเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ประเด็นนี้ก็ถือว่าสำคัญ เนื่อง จากหากไม่มีการระบุกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชัดเจน จะทำให้ลูกหลานชาวพุทธเชื้อสายไทยหมดสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันของรัฐ เพราะการเข้าสถาบันการศึกษาของรัฐในมาเลเซียมีการจัดการเข้าศึกษาตามระบบ ซึ่งเป็นอัตราส่วนตามจำนวนกลุ่มชาติ พันธุ์

             ส่วนด้านการเมืองเรื่องการขอมีสิทธิ์เป็นสมาชิกของพรรคอัมโน (umno-United Malays National Organization) ถือเป็นอีกประเด็นสำคัญมาก เพราะพรรคอัมโนเป็นพรรคการเมืองของชาวมลายู เป็นพรรคการ เมืองที่ผูกขาดการบริหารปกครองประเทศโดยตลอดมา ผู้ที่เป็นสมาชิกของพรรคอัมโนจะได้รับผลประโยชน์และสิทธิต่างๆ อย่างเช่น การขอเงินงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง การขออนุญาตในการจัดกิจกรรมของท้องถิ่น อาจจะง่ายขึ้นมากกว่าพรรคอื่นๆ

             สำหรับชาวพุทธเชื้อสายไทย นับตั้งแต่ที่เคยต่อสู้การเรียกร้องสิทธิ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันในการดำเนินนโยบายที่มีต่อชนกลุ่มน้อยชาวพุทธเชื้อสายไทย รัฐบาลมาเลเซียตอบสนองด้วยการให้จัดตั้งองค์กรกลุ่มชาติพันธุ์ชาวพุทธเชื้อสายไทยที่ถูกต้องตามกฎหมาย

             จึงเกิด สมาคมสยามมาเลเซีย และ สมาคมไทยกลันตัน ที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยรัฐบาลมาเลเซียให้คำมั่นถึงการสงวนสิทธิ์ในตำแหน่งสภานิติบัญญัติไว้สำหรับชาวพุทธเชื้อสายไทยหนึ่งที่นั่งตามประชากรจำนวนประมาณ 60,000 คน

              คนไทยพลัดถิ่นในมาเลเซียเรียกตัวเองว่า "คนไทยติดถิ่น" ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่า เพราะเป็นคนในพื้นที่นั้นเดิม ไม่ได้เกิดจากการอพยพเข้าไป ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียมองว่า กลุ่มคนไทยกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นภัยและส่งผลกระทบใดๆ ต่อประเทศ จึงไม่ได้เข้าไปแทรกแซงชีวิตความเป็นอยู่มากนัก ทั้งยังอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางพุทธศาสนาได้อย่างเสรี ทั้งที่คนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม สถานะความเป็นพลเมืองก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีสิทธิ์ในสาธารณูปโภคครบถ้วน

    อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดที่เป็นชนกลุ่มน้อยของสังคมก็จำต้องคล้อยตามความเป็นไปของคนส่วนใหญ่ของสังคมซึ่งอาจไม่ตรงกับความต้องการของชนกลุ่มน้อยไปทั้งหมด


    • Update : 31/5/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved