หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CA001 1,999.00  1
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ความสุข ทุกแง่ทุกมุม

    ความสุข ทุกแง่ทุกมุม

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุคตฺโต ป.ธ.๙)

            ทีนี้ ความสุขทุกขั้นนั้น ท่านก็ยอมรับว่าเป็นความสุขไม่ได้ ปฏิเสธ แต่มันยังมีข้อที่ไม่สมบูรณ์ เรียกอย่างภาษาพระว่า มีข้อดีและข้อด้อยพระพุทธศาสนาเวลาพูดถึงอะไร มักจะบอกว่าให้ดูทั้งข้อดีและ ข้อด้อย หรือข้อดีและข้อเสีย ข้อดีเรียกว่า อัสสาทะ ข้อด้อย เรียกว่า อาทีนวะ แล้วยังมีด้านที่ 3 บอกต่อไปอีกว่า จะต้องมี นิสสรณะ คือทางออก หรือจุดที่พ้นออกไปจากข้อดีและข้อด้อยนั้น

    หมายความว่าไปสู่ความสมบูรณ์หรือที่ดีกว่านั้น

             ทีนี้ เมื่อพูดถึงความสุขแต่ละอย่างๆ ก็ให้ใช้หลักแง่ด้าน 3 ประการนี้ มาตรวจดูด้วยว่า เออ ความสุขอย่างนี้ ขั้นนี้ ก็ดีนะ มันมีอัสสาทะ คือข้อดีอย่างนี้ๆ แต่มันก็มีอาทีนวะ คือมีข้อด้อยข้อเสีย อย่างนี้ๆ ด้วย แล้วในเมื่อมันยังไม่สมบูรณ์อย่างนี้ เราจะมีทางออกหรือ ทางพ้นไปจากสภาพที่ไม่สมบูรณ์นั้นอย่างไร จะได้หมดปัญหาโล่งไปเสียที นี่แหละนิสสรณะ พอถึงจุดนี้ก็เดินหน้าต่อไปได้เท่าที่พูดมานี้ เป็นการบอกให้รู้ว่า ทางพระพุทธศาสนาถือว่า มีความสุขมากมายแตกต่างหลากหลาย และความสุขนั้นเป็นภาวะที่ต้องพัฒนา พอมาถึงจุดนี้ การพัฒนาความสุขก็เลยเป็นเรื่องใหญ่ จะพูดว่า พระพุทธศาสนา คือระบบการพัฒนาความสุข ก็ได้ ถ้าการศึกษาพัฒนาคนให้มีความสุขได้

              จริยธรรมก็ไม่หนีไปไหน ถึงตรงนี้ก็จะต้องเน้นด้วยว่า การพัฒนาความสุขนั้น เป็นการพัฒนาชีวิต เป็นการพัฒนาสังคม และเป็นการพัฒนาธรรมอย่างอื่นๆ ไปด้วยพร้อมทั้งหมด โดยเฉพาะที่เรามักพูดกันบ่อยๆ เวลาพูดถึงเรื่องศาสนาคือเรื่องจริยธรรม บางทีก็พูดคู่กันว่า 'ศาสนากับจริยธรรม' โดยโยงเรื่องจริยธรรมไปเป็นเรื่องของศาสนา

              เมื่อโยงอย่างนี้ ก็ต้องบอกด้วยว่า การพัฒนาความสุขนั่นแหละ เป็น การพัฒนาจริยธรรม และในทางกลับกัน การพัฒนาจริยธรรม ก็ต้องเป็น การพัฒนาความสุข ทั้งนี้ ถ้าทำถูกต้อง ก็จะรู้ความหมายที่แท้ ทั้งของจริยธรรม และของความสุขด้วย

    ในเมื่อพูดถึงจริยธรรม ก็เลยขอตั้งข้อสังเกตแทรกไว้เป็นพิเศษ ว่า จริยธรรมในความหมายที่เราใช้กันนี้ มักจะเป็นไปในเชิง ที่ให้เกิดความรู้สึกค่อนข้างจะฝืนใจทำ อย่างเช่นจะให้คนประพฤติดี ก็คิดกันพูดกันว่า ต้องไม่ทำโน่น ต้องไม่ทำนี่ ที่เป็นการเสียหาย ไม่ทำบาป ไม่ทำชั่ว มักให้เกิดความรู้สึกเหมือนกับว่า ฝืนใจ หรือจำใจต้องทำ        ทีนี้ ถ้ามองตามหลักธรรมที่แท้ การพัฒนาจริยธรรมก็เป็นด้านหนึ่งของการพัฒนาความสุข ถ้าเป็นจริยธรรมที่แท้ ก็ต้องเป็นจริยธรรมแห่งความสุข ถ้าเป็นจริยธรรมที่ 'ฝืนใจ' หรือเป็นไปด้วยทุกข์ ก็ยังเป็นจริยธรรมจริงไม่ได้ เอาดีไม่ได้ และจะไปได้ไม่ไกล ก้าวไม่ถึงไหน ที่ว่านี้ มิใช่หมาย ความว่า จริยธรรมจะไม่มีการฝืนใจเสียเลยก็มีบ้าง และที่จะมีการฝืนใจนั้น ก็มี 2 อย่าง คือ ก) ในขั้นต้นๆ อาจมีการฝืนบ้าง เหมือนในการบวก อาจมี ลบบ้าง แต่พอเข้าทางดีแล้ว เป็นจริยธรรมแท้ เป็นนักฝึกที่ก้าวหน้า ก็บวกไปๆ ของที่ร้าย ก็หลุดหาย ไม่ต้องมัวลบ เพิ่มขึ้นมาๆ ก็แจกกันไปๆ จนเต็มแล้ว ก็แจกออกไป ให้อย่างเดียว

               ข) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความแตกต่างกันของมนุษย์ สำหรับคนพวกหนึ่ง ที่พระเรียกว่า พวก 'ทุกขา ปฏิปทา' ก็จะฝืนใจมากสักหน่อย แต่พอเต็มใจฝืน อยากฝืนตัวเอง ก็กลายเป็นฝึก ทีนี้ก็เดินหน้าได้ และอาจจะไปถึงขั้นดี อันนี้ก็ขอตั้งเป็นข้อสังเกตสำคัญไว้ ถ้ามีโอกาสก็จะพูดกันอีก


    • Update : 31/5/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved