หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อักษรลาวเป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรอง

              อักษรลาวเป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรไทยน้อย (หรือในอีกชื่อหนึ่งคืออักษรลาวเดิม) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ.1900 โดยมีพื้นฐานมาจากอักษรพื้นฐานเดียวกับอักษรไทย เผยแพร่เข้าสู่ประเทศลาวทางศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์ (เถรวาท) มี 2 แบบคือ อักษรลาว (อักษรลาวโบราณ ภาษาลาวเรียกว่า อักษรลาวเดิม ในประเทศไทยเรียกว่า อักษรไทยน้อย พบในภาคอีสานของไทยด้วย) และอักษรธรรมลาว อักษรลาวแปลงมาจากอักษรเทวนาครีที่ใช้ในประเทศอินเดียตอนเหนือ และยืมโดยปราชญ์ชาวเขมร

    ทั้งนี้ มีความเห็นต่างกันไปเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอักษรลาว ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดซ์ ให้ความเห็นว่า อักษรลาวน่าจะมีที่มาจากอักษรของพ่อขุนรามคำแหง เกิดขึ้นที่เมืองสุโขทัย แล้วแพร่หลายไปยังเมืองที่ติดต่อกันในดินแดนล้านนาและล้านช้าง แต่ภายหลังตัวอักษรไทยในดินแดนล้านช้างได้เปลี่ยนเป็นตัวลาว ด้านนักวิชาการลาวเชื่อว่าคนลาวที่อยู่ในดินแดนล้านช้างมีอักษรเป็นของตนเองมานาน อักษรลาวคล้ายกับตัวอักษรไทยเพราะวิวัฒนาการมาจากอักษรเทวนาครี ขณะที่ปราชญ์ มหาสิลา วีระวงส์ เห็นว่าชาติลาวมีตัวหนังสือของตัวเองมาหลายร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยอักษรลาวเป็นอักษรไทพวกหนึ่งที่เรียกว่าอักษรไทยน้อย ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือลาวในเวลาต่อมา อักษรไทยน้อยนี้น่าจะมีที่มาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย ดังกล่าว

    ระบบการเขียนภาษาลาว มีวิวัฒนาการ 3 แบบดังนี้ 1.แบบของท่านมหาสิลา วีระวงส์ หรือแบบพุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี ซึ่งได้คิดตัวอักษรเพิ่มเติมให้ครบวรรคในภาษาบาลี เพื่อสะดวกในการเขียนเรื่องทั้งทางโลกและทางธรรม จากเดิมที่ยุ่งยากในการจัดทำตัวพิมพ์อักษรธรรมลาวเพื่อเขียนเรื่องทางศาสนา อักขรวิธีแบบนี้สะกดตามเค้าเดิมของภาษาอย่างเคร่งครัด ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ เพื่อให้รู้ต้นเค้าของคำว่าเป็นคำภาษาลาวเดิมหรือคำภาษาต่างประเทศ เช่น คำภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งคล้ายกับระบบการเขียนภาษาไทยในปัจจุบัน ระบบการเขียนแบบนี้เคยใช้ในสมัยที่ประเทศลาวยังไม่มีระบบการเขียนที่แน่นอน ขณะที่ลาวยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ.2491

    2.แบบของท่านสมจีน ป.งิน สะกดตามแบบที่ได้กำหนดในพระราชโองการ (พระราชบัญญัติ) เลขที่ 10 พ.ศ.2491 รัชสมัยของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดหลักการเขียนภาษาลาวให้มีความแน่นอนและชัดเจนขึ้น อักขรวิธีของระบบนี้คือ สะกดคำตามเสียงอ่านแต่ยังคงรักษาเค้าเดิมของภาษาไว้ การสะกดการันต์ยังคงมีการใช้ แต่ได้เลิกใช้อักษรบางตัวลงจากแบบแรกเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น อักษรลาวรูปแบบนี้ใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2491-2518 คือ นับตั้งแต่ประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันยังคงใช้อยู่ในกลุ่มคนลาวอพยพในต่างประเทศ

    3.แบบของท่านพูมี วงวิจิด อักขรวิธีแบบนี้สะกดตามเสียงอ่านเท่านั้น คืออ่านออกเสียงอย่างไรให้สะกดอย่างนั้น เริ่มใช้ในเขตปลดปล่อยของขบวนการปะเทดลาวก่อน หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วรัฐบาลได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้เขียนง่ายอ่านง่ายขึ้น แต่ก็เกิดปัญหาทำให้ภาษาลาวขาดหลักการสะกดคำที่ชัดเจนอีกครั้ง เช่น ตัดตัวการันต์ ตัว ร หันลิ้น (ภาษาลาวเรียกว่า ร รถ) ออก ทำให้ไม่สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศและภาษาของชนเผ่าต่างๆ ได้ครบถ้วน อักษรลาวระบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2518 ถึงปัจจุบัน โดยกระทรวงศึกษาธิการลาวได้บรรจุตัว ร หันลิ้นกลับมาใช้ใหม่ และใช้ตัวการันต์สำหรับสะกดคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ยกเว้นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต และคำลาวเดิม ยังสะกดตามเสียงอ่านอยู่เหมือนเดิม

    อักษรลาวประกอบด้วยพยัญชนะเดี่ยว 27 รูป อักษรคู่ 6 รูป (รวม 33 รูป) สระ 28 รูป มีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียงซึ่งขึ้นกับพื้นเสียงของพยัญชนะ การเขียนยึดสำเนียงเวียงจันทน์เป็นหลัก ไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน นิยมใช้ระบบถ่ายเสียงของภาษาฝรั่งเศส ระบบการเขียนเข้าใจง่าย เพราะเขียนตามเสียงโดยตรง


    • Update : 29/4/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved