หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CD011 .00  30
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    หล่อพระปีใหม่ได้บุญมาก

    หล่อพระปีใหม่ได้บุญมาก

              ปีใหม่นี้ขอเชิญชาวไทยร่วมกันทำบุญสร้างพระพุทธรูป ซึ่งมีทั้งการปั้น การแกะสลัก ไปจนถึงการหล่อ ซึ่ง "การหล่อ" จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางเทคโนโลยี ของคนโบราณ เพราะกว่าจะผ่านขั้นตอนกระบวนการต่างๆ สิริรวมเป็นองค์พระปฏิมาที่งดงามได้ต้องถือว่าสุดยอดจริงๆ เพราะไม่ได้มีเครื่องมือสะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ กล่าวถึงกรรมวิธีการหล่อพระสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น "ฝีมือช่างราษฎร์" กับ "ฝีมือช่างหลวง"

    "ฝีมือช่างราษฎร์" ก็จะเป็นกลุ่มชุมชนตามหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มิได้เคร่งครัดในส่วนผสมของโลหะตลอดจนศิลปะเท่าใด เมื่อทราบข่าวว่าจะมีการหลอมหล่อพระ ก็จะนำโลหะมีค่าจากบ้านเรือนของตนมาเป็นวัตถุดิบ "ร่วมบุญ" เรียกว่าใส่กันได้หมด ไม่ว่าจะเป็นสร้อยเงิน สร้อยทอง โตก ขัน พาน เบี้ย ฯลฯ สารพัดชนิดที่เป็นโลหะ แล้วสมัยก่อนหย่อนหลอมกันในเบ้าเลย ใครใส่อะไรลงไปก็จะเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธรูป แล้วก็อธิษฐานเอา "ศรัทธา" เขาเรียกว่า "ด้วยแรงศรัทธา"

    ส่วน "ฝีมือช่างหลวง" นั้น จะมีความประณีตงดงามของการขึ้นหุ่น ตลอดจนโลหะที่นำมาผสม ยิ่งในการสร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ก็จะมีการเกณฑ์ช่างฝีมือเยี่ยม และตีฆ้องร้องป่าวให้เมืองต่างๆ ที่มีจิตศรัทธานำโลหะอันมีค่า เช่น ทองคำ เงิน นาก มาร่วมบุญ อย่างการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ดังความที่ปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า

    "...พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงรำพึงในพระทัยจะใคร่สร้างพระพุทธรูปให้แล้วด้วยสัมฤทธิ์ ครั้นพระองค์รำพึงแล้วจึงให้หาช่างได้บาพิศณุคนหนึ่ง บาพรหมคนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศลคนหนึ่ง ได้ช่างมาแต่เมืองสัชนาไลย 5 คน มาแต่เมืองหริภุญไชยคนหนึ่ง เป็นช่าง 6 คน จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งช่างทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายให้ชวนกันรักษาศีล 5 ประการอย่าให้ขาด ครั้นสั่งช่างแล้วจึงพระราชทานรางวัลแก่ไพร่ทั้งหลาย ให้ขนดินแลแกลบให้แก่ช่าง ช่างจึงประสมดินปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้าสามรูปตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้น ให้เหมือนพิมพ์เดียวแลใหญ่น้อยเท่ากัน ครั้นเป็นเป้าคุมพิมพ์แล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายก็นำเอาทองสัมฤทธิ์มาถวายแก่พระองค์เจ้า ชวนกันหล่อพระพุทธรูปเป็นอันมาก แลช่างหล่อชวนกันกินบวชเจ็ดวัน ทำพิธีพลีกรรมแก่เทวดาทั้งเจ็ดทิศ ครั้นได้ฤกษ์ดีจึงเอาพิมพ์เข้าเตา....."

    จากข้อความในพงศาวดารเหนือเราจะเห็น "นัย" หลายประการเกี่ยวกับการหล่อพระพุทธรูปองค์สำคัญ

    ประการแรก คือ ต้องรวมช่างที่มีฝีมือในขอบขัณฑสีมาเรียกว่าต้องรวมยอดอัจฉริยะ พระโบราณถึงออกมาสวยงามมาก

    ประการที่สอง มีการบอกกล่าวให้ ท้าวพระยาทั้งหลายที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจ ส่งโลหะอันมีค่ามาร่วมบุญแต่โดยดี เป็นวิธีการตรวจสอบความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อศูนย์กลางแห่งอำนาจอีกอย่างหนึ่ง

    กรรมวิธีการหล่อพระ จะเริ่มจากการ "ขึ้นหุ่น" หรือ "ปั้นหุ่น" ด้วยดินเหนียว ผสมทรายและแกลบตามส่วนดินที่นิยมใช้เรียกว่า "ดินขี้งูเหลือม" มีสีเหลือง โดยกำหนดสัดส่วนไว้สำหรับหุ้มขี้ผึ้งอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นใช้ ขี้ผึ้งผสมกับชันเพื่อให้แข็งตัว ตีแผ่ออกเป็นแผ่นหนาเท่ากับเนื้อทองที่ต้องการแล้ว นำแผ่นขี้ผึ้งหุ้มรูปหุ่นให้หมดทั้งองค์ ลงมือปั้นแต่งขี้ผึ้งให้ประณีต ฝีมือช่างจะแสดงออกมาจากการปั้นขี้ผึ้งนี้ หลังจากนั้นจะมีการติด "สายชนวนขี้ผึ้ง" เพื่อช่วยให้ทองแล่นได้ตลอด โดยคำนึงถึงช่องว่างที่จะเป็นส่วนให้อากาศภายในระบายออกได้ทันเมื่อเททอง ก่อนที่จะนำเอาขี้วัวละเอียดผสมกับดินนวล ทาลงบนหุ่นขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวทองเรียบงาม หลังจากนั้นใช้ดินอ่อนฉาบรักษาดินขี้วัวไว้แล้วใช้ดินที่ปั้นหุ่นองค์พระชั้นในพอกทับอีกชั้นหนึ่ง เสร็จแล้วจะทำการตรึงหมุดเหล็ก หรือเรียกว่า "ทวย" คือการแทงเหล็กแหลมเข้าไปในหุ่นขี้ผึ้งให้ทะลุเข้าไปถึงชั้นในเพื่อยึดโครงสร้างองค์พระให้แข็งแรง มิให้แตกร้าวขณะเททอง ก่อนที่จะใช้เหล็กมัดเป็นโครงหุ้มดินพอกไว้อีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่า "รัดปลอก" แล้วพลิกเศียรพระพุทธรูปลงดิน เอาฐานองค์พระขึ้น โดยใช้นั่งร้านยกพื้นไม้ให้รอบสำหรับเดินเททอง ค้ำยันหุ่นด้วยเหล็กให้แน่นหนาแล้วจึงเริ่มสุมไฟเผาหุ่นไล่ขี้ผึ้งรอบองค์พระ

    ในขณะเดียวกันก็เริ่ม "สุมทอง" ที่เตรียมไว้พร้อมกันไปด้วย โดยมีเบ้าหลอม ต่างหาก เมื่อขี้ผึ้งละลายหรือที่เรียกกันว่า "สำรอก" จึงเริ่มเททอง น้ำทองจะไหลลงไปแทนที่ขี้ผึ้งรอบองค์พระ โดยเดินเททองบนนั่งร้านกรอกลงไปตามสายชนวนขี้ผึ้งซึ่งติดเอาไว้ก่อนแล้วนั้น ช่องหรือสายชนวนนี้จะเปรียบ เสมือนท่อนำน้ำทองให้ไหลไปทั่วองค์พระปฏิมา

    เมื่อเททองเสร็จจะปล่อยให้หุ่นพิมพ์เย็นลงแล้วจึงแกะดินที่ปั้นเป็นหุ่นออกให้หมด ยกองค์พระให้ตั้งขึ้น เริ่มขัดถูผิวให้เรียบ ตัดหมุดหรือ "ทวย" รวมทั้ง "สายชนวน" ออก หากมีตำหนิก็จะมีการนำเศษทองที่เหลือตอกย้ำให้เสมอกัน หากปรากฏเป็นช่องว่างมากก็เททองเพิ่มให้เต็ม ที่เรียกว่า "เทดิบ" บางครั้งจะใช้ยาซัดโลหะตามกรรมวิธีโบราณผสมลงในเบ้าหลอมด้วยเพื่อซัดเศษโลหะออกจากน้ำทอง ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อโลหะบริสุทธิ์ ก็จะได้บุญขจัดภัยร้ายกลายเป็นดีสืบทอดพระศาสนาต่อไปครับผม


    • Update : 3/1/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved